JSC48

Wednesday, July 25, 2007

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมร่วมมือทางวิชาการ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐

จากการเสวนาเรื่องบทบาทของกองทัพทศวรรษหน้าในมุมมองของนักวิชาการนั้น ได้ประโยชน์มากในการนำกลับไปเขียนยุทธศาสตร์ทหารของนักศึกษา ทั้งนี้ การเขียนยุทธศาสตร์ทหารของนัดกศึกษา ได้จากการสัมมนานักศึกษาด้วยกัน ยังขาดมุมมองต่าง ๆ มากมาย จากบุคคลภายนอก อาทิ เช่น นักวิชาการ ประชาชน ดังนั้น ผมมีข้อเสนอแนะว่า การจัดความร่วมมือทางวิชาการนี้ น่าจะจัดให้เร็วขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเสวนาต่าง ๆ นี้กับมาใช้ในการเขียนยุทธศาสตร์ทหาร หรือหากมีงบประมาณเพียงพอหรือวิทยาลัยเสนอเป็นแผนงานจัดการเสวนาระดมความคิดเห็นเรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์ทหารจากหลากหลายหน่วยงาน จะทำให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ หรือเกิดจินตนาการใหม่ ให้กับกองทัพได้ครับ

ปัญหาการจัดกิจกรรมร่วมมือทางวิชาการ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐

๑. การใช้สถานที่สโมสร ซึ่งอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของ ยบ.ทหาร แต่คาดกำลังพลในการจัดการ เช่น พลทหาร จะต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ทำให้เกิดความล่าช้า และสับสน
๒. อุปกรณ์จัดสถานที่บางอย่าง เช่น ที่คุมเก้าอี้ต่าง ๆ จะต้องของจาก สลก.
๓. เครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่ำ เช่น ถ่านของวิทยุส่งได้ในเวลาจำกัด ทำให้การประสานการปกิบัติได้ล่าช้า
๔. ขาดการวางแผนจัดประสานงานหรือ Point Contact ที่ดี เช่น การกำกับดูแลจะต้องมีศูนย์กลางที่คอยแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ จะต้องรายงานข้อขัดข้องเข้ามาเพื่อให้ศูนยืกลางดังกล่าวแก้ไขหรือประสานให้ทันท่วงที
๕. ขาด จนท.Organizer ผมต้องเข้าไปรับตำแห่งนี้โดยความจำเป็น ต้องกำกับเวที กำกับเวลา กำกับวิทยากร และกำกับเครื่องเสียงและแสงสี ตลอดจนการฉายแผน power point ซึ่งผมต้องยอมรับว่ามีเวลาเตรียมการน้อย ทำให้เกิดปัญหาเล็ก ๆ น้อย เช่น ไมค์หอน เปิดเพลงมหาฤกษ์ช้า กำกับการเข้าห้องของนักศึกษาไม่เป็นไปตามเวลา ฯลฯ
๖. ไฟฟ้าในสโมสรไม่เพียงพอ เมื่อมีการแสดงนิทรรศการ และใช้ Spotlight พร้อม ๆ กัน
๗. ที่ตั้งอาหารว่างในวันแรกไม่เหมาะสม เนื่องจากไปตั้งที่ด้านหลังของสโมสร นักศึกษาไม่เดินไป วันที่สองแก้ปัญหาโดยมาตั้งด้านข้างดีขึ้นมาก

กิจกรรมร่วมมือทางวิชาการครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ ก.ค.๕๐

ภายใต้การเสวนาเรื่อง บทบาทของกองทัพทศวรรษหน้าในมุมมองของนักวิชาการ โดยมี นพ.ประเวศ วะสี ดร.ชัยวัฒน์ ศัลยกำธร และ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร เป็นผู้เสวนา ได้รับความรู้หลากหลาย ประเด็นสำคัญที่ได้รับ
๑. อ.ชัยวัฒน์ ฯ กล่าวว่า บริบทของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แผนที่ที่ทหารจะต้องนำมาพิจารณาให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะตัสินใจว่าจะดำเนินการอย่งไรในอนาคตได้แก่
  • แผนที่รัฐประเทศ อันที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก อาทิ เช่น ภาวะโลกร้อน ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง อากาศเปลี่ยนแปลง แผนที่รัฐประเทศจะมีการเปลี่ยนเปลง กองทัพต้องมองดูว่าจะวางตัวอย่างไรหากแผนที่นี้มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  • แผนที่ทางวัฒนธรรม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้ายสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะเห็ได้ว่าสิ่งสำคัญคือการเข้าใจในวัฒนธรรมของไทยมุสลิม แล้วการแก้ปัญหาจะทำได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันกองทัพก็ได้พยายามดำเนินการอยู่ แต่ต้องเข้าใข้ในแผนที่วัฒนาธรรมนี้ให้ถ่องแท้
  • แผนที่ความจงรักภักดี จะเป็นได้ว่า ระบบทักษิณ นำมาซึ่งความแตกแยกอย่างเด่นชัดหลาย ๆ เรื่อง โดยเพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของประเทศ ทำให้กองทัพต้องมองแผนที่นี้ให้เข้าใจ และพยายามเข้าไปแก้ไขให้เกิดความจงรักภักดีอย่างที่เคยเป็นในอดีต
  • แผนที่ภายในกองทัพ จากการปกิรูปการปกครอง ๑๙ ก.ย.๔๙ ทำให้ทหารถูกมองในภาพของการกลับคืนมาของอำนาจเก่า ๆ และการสืบทอดอำนาจ จึงทำให้กองทัพจะต้องหันกับไปพิจารณาถึงการเป้นทหารอาชีพหรือไม่ บทบาทนั้นกองทัพจะต้องเดินอย่างไรนั้น จะต้องชั่งใจให้มาก

๒. อ.ปณิธาน ฯ ได้ให้ความรู้ว่าสิ่งสำคัญของบทบาทกองทัพได้แก่ การรู้สนามรบที่แท้จริง ซึ่งท่านเรียกว่า สมรภูมิ สรุปได้ว่า

  • สมรภูมิภายใน ได้แก่ กองทัพนั้นเอง จะต้องเอาชนะองค์กรของตนเองให้ได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การบริหารจัดการ การควบคุมและสั่งการ ตลอดจนการควบคุมการปฏิบัติ ให้เป็นรูปธรรม การปรับปรุงดังกล่าวภายใต้บริบทต่าง ๆ ที่ อ.ชัยวัฒน์ ได้กล่าวไป จะทำให้กองทัพรู้ว่าต้องทำอะไร ต้องเครียมอะไร ต้องเสริมอะไร จึงจะทำให้การรบสามารถชนะได้
  • สมรภูมืภายนอก ได้แก่ ภัยคกคามรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งจะเป็นหลายมิติ และสลับซับซ้อนที่เรียกว่า complex theory นั้น กองทัพจะต้องให้ความสนใจ ให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ การรบเพียงเหล่าทัพเดียวจะไม่สามารถกระทำได้ จะต้องมีการรบหลายมิติ ดังนั้น การพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับภัยคุกคามดังกล่าวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ เช่น การกลับคืนมาของ กอ.รมน. จะต้องมีการปรับองค์กร และภารกิจให้ชัดเจน ให้เกิดความ sexy มิเช่นนั้น จะไม่สามารถรองรับการปฏิบัติงานในอนาคตได้ เช่นกัน ศอ.บต. ต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานใหม่ ต้องจัดให้เป็นองค์กรใหม่ อย่านำลักษระขององค์กรในอดีตกับมาใช้ จะไม่สำเร็จ

กิจกรรมร่วมมือทางวิชาการครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันที่ ๒๔ ก.ค.๕๐

ภายใต้การเสวนาเรื่องการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ได้อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร และอาจารย์วิชัย รูปคำดี มาเป็นตัวหลักในการเสวนา ได้รับทราบจากท่านอาจารย์วิชัย ฯ ว่าในหลวงของเราท่านมองการไกลในด้านทหารมาก จากสภาพภัยคุกคามในเวลานั้นได้แก่เวียดนาม จึงมองว่าการสร้างกองทัพเพื่อต้านทานมความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น ท่านจึงนำโครงการอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เข้ามาเป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ หรอทหารบกจะเรียกว่า มาคู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เส้นทางเคลื่อนที่ของกำลังทางบกจะเป็นไปได้น้อยลง ทำให้เราสามารถลดกำลังพลที่ต้องเป็นกำลังเผชิญหน้าทางกว้างลงได้ นี้เรียกว่าเป็นอัจริยะอีกด้านของในหลวงเรา
ส่วนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกองทัพนั้น มีปัญหาหลัก ๆ อยู่ที่ทัศนะคติ อาจารย์วิวัฒน์ ฯ กล่าวว่า ในโลกนี้แนวคิดแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านสุดโตก คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร หรือยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุด เช่น ภูฐาน ที่กำหนดการเข้าประเทศของต่างชาติเพียงแค่ ประมาณ ๕ พันคนเท่านั้น ท่านบอกว่าเป็นการป้องกันการแย่งอากาสและน้ำของประชาชนเขา ที่มีอยู่จำกัดอยู่แล้ว แต่จริงแล้วผมกับมองว่าน่าจะเป็นการป้องกันมิให้ทรัพยากรอื่น ๆ ด้วย กับอีกแนวคิดหนึ่งคือพวกทุนนิยม ได้แก่ พวก trade economy พวกนี้จะมองที่ GDP เป็นหลัก พวกนี้จะทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการรักษ์ธรรมชาติ จากสองแนวคิดนี้ ปรัชญาของในหลวงท่านอยู่ที่ตรงกลางภายใต้คำว่า medium path คือเดินสายกลาง มิได้บอกว่าไม่ต้องมีการทำการค้า ทำได้ แต่ต้องมีการพึ่งพาตนเองได้ซัก ๑ ใน ๓ ส่วนก็นับว่าดีแล้ว ภายใต้แนวคิดสุดโตกนั้น มีความจำเป็นมีองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้พื้นบ้านให้สามารถสนับสนุนประเทศได้ โดยมิต้องพึ่งพาประเทศอื่น ส่วนแนวคิดทุนนิยมนั้น สิ่งสำคัญต้องมีจริยธรรม เช่นหลักของธรรมมาภิบาล เป็นต้น
อ.วิชัย ฯ ได้สรุปว่าการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกองทัพนั้น ท่านมุ่งหวังที่ระดับผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วย ที่จะต้องเป้นกำลังในการขับเคลื่อนให้กำลังพลของหน่วยเข้าใจปรัชญาดังกล่าว และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนต่อไป

Sunday, June 17, 2007

หลักการองค์กรที่ดี

จากการที่ได้ไปดูงานในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เห็นหัวข้อหนึ่งที่ใช้ประกอบการจัดทำยุทธสาสตร์อยู่ดี-มีสุขของรัฐบาล ผมชอบหลักกการที่เข้านำเสนอว่าชุมชนจะอยู่ได้ต้องมี ๓ S ได้แก่
- ความสามารถอยู่รอด (Survivable) องค์กรจำเป็นต้องมีการแข่งขัน ดังนั้น จึงต้องมีความสามารถที่จะเอาชนะการแข่งขั้นต่าง ๆ ได้ นั้นก็หมายความว่าต้องมีความสามารถในการอยู่รอด
- ความพอประมาณ (Sufficiency) องค์กรเอกชนส่วนใหญ่มักจะคำนึงถึงกำไร จนไม่ได้คิดถึงการตอบแทนต่อสังคม และความพอประมาณต่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศให้หมดอย่างรวดเร็ว
- ความยั่งยืน (Sustainability) องค์กรต่าง ๆ จะต้องมีความยั่งยืนถาวร มีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นและค่อยไป อย่าก้าวกระโดดจนลืมพื้นฐานหรือความสามารถพื้นบานขององค์กรตนเอง ตลอดจนต้องพิจารณานำขีดความสามารถดังกล่าวนั้น มาใช้ในการพัมนาองค์กรด้วย

Monday, April 16, 2007

สุวรรรภูมิ - โฮจีมินห์

ปี ๒๕๕๐ นี้ วิทยาลัยเสนาธิการ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาและศึกษาภูมิประเทศต่างประเทศสองประเทศ ได้แก่ โฮจีมินห์ เวียดนาม และเซี่ยงไฮ้ จีน การเดินทางระหว่าง ๑๘ - ๒๔ มี.ค.๕๐ โดยทริปแรกคือการเดินทางจากสุวรรณภูมิไปโฮจีมินห์ ด้วยสายการบิน TG068 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเวลาประมาณ ๑๐๐๐ น. เที่ยวบินไปโฮจีมินห์ อากาศร้อนมากมาก เนื่องจากเป็นช่วงหน้าร้อน และประกอบกับภายในตัวเครื่องไม่ได้เปิดแอร์หรือปล่าวไม่ทราบ ทำให้นักศึกษาที่ใส่ชุดสากลกันไปเหงื่อท่วมกันทุกคน ประกอบกับเครื่องน่าจะเป็นรุ่นเก่า มีกลิ่นน้ำมันเช้อเพลิงเข้ามาในห้องด้วย มีนักศึกษาหลายท่านที่นั่งใกล้ผม บอกว่าน่ากลัวจัง
เป็นอันว่าเดินทางถึงโฮจีมินห์ นครหลวงของประเทศเวียดนาม รอผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของเวียดนามประมาณชั่วโมงกว่า ๆ เนื่องจากทำงานช้ามาก และเนื่องจากคณะ วสท. มีจำนวน ๑๐๐ กว่าคน ทำให้การบริการช้ามาก และไม่มีการเปิดช่องพิเสษเพิ่มด้วยทำให้ต้องรอเข้าคิวกันประมารชั่วโมง ซ้ำร้ายยังมีการแทรกคิวเหมือนกัน ในขณะที่พสกเรารอคิวอยู่ จะมีชชาวเวียดนามคนหนึ่งมายืนต่อท้ายคิว แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ ตม.เวียดนาม ได้เรียกพี่คนนั้นเข้าไปทำก่อน ทำให้พวกเรามองหน้ากัน พร้อมกับพูดว่าเหมือนกันเลย
สิ่งที่พบในการเดินทางในนครหลวงโฮจีมินห์ก็คือมอเตอร์ไซด์ที่มีมากจนล้นถนน คนขับมอเตอร์ไซด์ที่นี้ต้องยอมรับเรื่องใจ ว่าใจถึงจริง ๆ เนื่องจากถนนบางสี่แยกไม่มีไฟแดง การตัดกันหรือข้ามจากแยกหนึ่ไปแยกหนึ่งไม่มีการบีบแตร วิ่งเข้าหากัน ที่นี้เขาบอกว่าใครขับถึงจะได้ไปก่อน นั้นแสดงออกให้เห็นว่าเวียดนามพยายามส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคมด้วยการใช้มอเตอร์ไซด์มาเป็นพาหนะ ไม่ต้องการให้ประชาชนมีรถยนต์มากเกินไป จะพยายามให้มีเฉพาะพวกที่รวยจริงเท่านั้น ซึ่งผมมองว่าการทำเช่นนี้ดีต่อประเทศเวียดนาม เนื่องจากประเทศเพิ่งพัฒาความเจริญ การกระจายรายได้เป็นสิ่งสำคัญ และควรจะต้องค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งต้องให้เท่าเทียมกันด้วย จะทำให้เกิดความยั่งยืน สิ่งที่สองที่ดีก็คือจะทำให้ประชาชนไม่บริโภคน้ำมันเชื้อเพลิวมากเกินไป จนทำหใประเทศนำเข้าน้ำมันมากเกินความจำเป็น
สิ่งที่พบในขณะที่ไปภัตตาคารอาหารเวียดนามก็คือ ไม่มีกระดาษชำระทิชชูให้ ผมมองว่าการที่เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากการที่จะไม่พยายามท่จะลดทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง โดยไม่มีการบริโภค เช่น กระดาษทิชชู ก้เป็รที่มาของการทำลายต้นไม้เพื่อนำมาทำเป็นกระดาษ
กงสุลใหญ่ประจำเวียดนามท่านได้บรรยายสรุปใจความสำคัญว่า ท่านอยากให้พวกเราได้มีโอกาสไปที่ฮานอยด้วย เพราะที่นั้นจะเป็นศูนย์กลางของประเทศอีกจุดหนึ่ง ซึ่งอยูทางตอนเหนือของเวียดนาม ขณะนี้เวียดนามกำลังพัฒนาตอนกลางของประเทศที่มีความเจริญน้อยกว่าด้วยการใช้ดอกาสที่ East - West Corridor จะไปถึงดานัง เมืองท่าที่สำคัญของตอนกลางประเทศ เวียดนามวางแผนว่าจะสร้างตอนกลางของประเทศเป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำมัน เป็นคลังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการกระจายรายได้ด้วยอีกทาง ท่านกงสุลใหญ่กล่าวว่า จุดแข็งของเวียดนามก็คือ การเมืองที่มีเอกภาพและมีเสถียรภาพสูง ทำให้มีวางแผนและพัฒนาประเทศที่ชัดเจน เศรษฐกิจกำลังโตอย่างรวดเร็ว ด้วยความแตกต่าวระหว่างคนรวบกับคนจนมีน้อย วัฒนธรรมความขยันของชนชาวเวียดนาม แต่ก็มีจุดอ่อน เช่น ความเจริญที่ยังไม่กระจายทั่วถึง เช่นภาคกลางของประเทศ ยังคงต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ยังคงต้องให้การช่วยเหลือประเทศลาวและกัมพูชา ตลอดจนการมีชายฝั่งที่ยาว และมีท่าเรือมกามายตามเองใหญ่ ๆ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเมืองท่าที่สำคัญได้ชัดเจน ผมเข้าใจเองว่าการที่เวียดนามยังไม่หันมาสร้างศักยภาพด้านพานิชยนาวีก็เนื่องจากยังคงมีภาระในการพัฒนาประเทศด้นอื่นก่อน หากเมื่อใดที่เวียดนามสามารถพัฒนาศักยภาพด้านพานิชยนาวีให้เข้มแข็งแล้ว เวียดนามน่าจะเป็นประเทศที่เจริญทางการค้าคล้ายกับประเทศจีนก็เป็นได้

Saturday, March 17, 2007

ประสิทธิผล vs ประสิทธิภาพ

จากการเรียนในหัวข้อ การบริหารองค์การสมัยใหม่ จากท่านอาจารย์ เมธาวุฒิ ฯ ท่านได้ให้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับประสิทธิผลและประสิทธิภาพไว้ ดังนี้
ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง การทำให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ หรือ สามารถบรรลุภารกิจได้ ก็ถือได้ว่ามีประสิทธิผล ดังนั้น จึงต้องไปทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกันต่อไป ว่าใครมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน การมองทางด้านประสิทธิผลนั้น จะมองถึง Output เป็นหลัก นั้นหมายถึงว่าหากสามารถที่จะมี Output เหมือนกันได้ ทุกหนทางนั้นก็มีประสิทธิผลเหมือนกัน แต่ประสิทธิภาพอาจแตกต่างกันได้
ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการปฏิบัติงานที่เหมือนกันน้อยกว่า จะมีประสิทธิภาพดีกว่า ประสิทธิภาพจะมองถึงด้าน Input คือ ใช้วัสดุ เงิน แรงงาน และกรบริหารจัดการน้อยกว่า ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้น หากไม่ผ่านประสิทธิผลแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดในการที่จะต้องมาวัดประสิทธิภาพกัน

Thursday, March 01, 2007

เกร็ดการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามหลักของซุนวู

๑. HE WHO KNOWS WHEN HE CAN FIGHT AND WHEN HE CAN NOT WILL BE VICTORIOUS. กล่าวคือ แม่ทัพใดรู้ว่าเมื่อใดควรรบและเมื่อใดไม่ควรรบ จะเป็นผู้กำชัยชนะ จากภาพยนต์นเรศวร แสดงให้เห็นตอนที่พระนันทบุเรงส่ง ๓ ทัพ ขึ้นตีเมืองคัง ที่อยู่ในที่มั่นที่สูงชัน การเดินทางเข้าตีทางตรงเป็นอุปสรรคอย่างมาก และเป็นจุดล่อแหลมที่จะถูกโจมตีจากข้าศึกได้ พระนเรศวรฯ ได้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของ ๒ ทัพของทัพจากหงสาวดี และทัพจากตองอู ทำให้พระนเรศวรฯ ได้มองว่าน่าจะมีหนทางที่ดีกว่าเข้าตีทางตรง จึงได้เข้าตีทางด้านหลังของเมือง ซึ่งเป็นทางขนเสบียงและน้ำขึ้นเมือง ทำให้สามารถตีได้สำเร็จ ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าท่านรุ้ว่าเมื่อใดควรรบ และเมื่อใดไม่ควรรบ
อีกฉากหนึ่งที่แสดงเห็นถึงความคิดของพระนเรศวรฯ ที่ทราบว่าเมื่อใดควรรบ และเมื่อใดไม่ควรรบ ก็คือฉากที่ท่านเข้าไปปรึกษาข้อราชการกับพระมหาธรรมราชาที่กรุงอโยธยา เกี่ยวกับการที่พระบุเรงนองได้เสียชีวิต ซึ่งโดยธรรมชาติของเมืองประเทศราชแล้ว มักจะมีความคิดที่จะแข็งข้อ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป แต่พระนเรศฯ ได้ยอมที่จะไปร่วมงานของพระบุเรงนอง อันเป็นการแสดงออกอย่างกลาย ๆ ว่ายอมที่จะเป็นเมืองประเทศราชของหงวฃสาวดีต่อไป อันเนื่องมาจากกำลังพลและการเตรียมการที่ยังไม่พร้อมในการที่จะทำการรบกับหงสาวดีได้ นั้นหมายถึงว่าท่านได้มีการประเมินสภาพแวดล้อมและมีการเปรียบเทียบกำลังรบระหว่างอโยธยากับหงสาวดีแล้วว่าเทียบกันไม่ได้ จึงจำเป็นต้องยอมไปหงสาวดี เพื่อร่วมถวายพระเพลิงพระเจ้าบุเรงนองในครั้งนั้น
๒. HE WHO UNDERSTANDS HOW TO USE BOTH LARGE AND SMALL FORCE WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดเข้าใจการใช้กำลัง ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก จะเป็นผู้กำชัยชนะ ในภาพยนต์แสดงให้เห็นว่าพระนเรศวรฯ ได้เข้าใจการใช้กำลังกองทัพเป็นอย่างดี ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ตั้งแต่ตอนที่เข้าตีเมืองคัง ด้วยกองทัพขนาดเล็กที่สุดที่เปรียบเทียบกับอีก ๒ ทัพ แต่สามารถยึดเมืองคังได้ด้วยยุทธวิธีจลยุทธ์ แสดงให้เห็นถึงแนวทางการใช้กำลังขนาดเล็กเป็นอย่างดี และเมื่อท่านได้รวบรวมกำลัง รวมกับมอญ แล้วเกณฑืไพร่พลกลับอโยธยา ผ่านแม่น้ำสโตง ก็แสดงให้เห็นว่าท่านมีความสามรถในการเดินทัพที่มีกำลังพลมากหรือขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี มีการวางแผนการเดินทัพที่ดี ชัดเจน และรอบรู้ข้าศึก ทำให้สามารถชนะทัพหงวสาวดีที่ตามติดมาได้
๓. HE WHOSE RANKS ARE UNITED IN PURPOSE WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดที่รู้ในตำแหน่งหน้าที่ของตน และต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของชาติ จะเป็นผู้กำชัยชนะ ในภาพยนต์ แสดงให้เห็นว่า พระนเรศวรฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการรุกรานจากหงสาวดี ดังนั้น ในเบื้องต้นท่านใช้นโยบายทางการเมืองระหว่าวประเทศเข้าดำเนินการด้วยการเป็นประเทศราชที่ดีของหงสาวดี เพื่อรวบรวมไพร่พลให้มีความพร้อม ตลอดจนสร้างเสริมบารมีให้เกิดขึ้นกับตัวท่าน จนเป็นที่ยอมรับจากเจ้าเมืองต่าง ๆ เข้ามาสวามีภักดิ์ จึงทำการตัดสัมพันธืไมตรีจากหงสาวดี
๔. HE WHO IS PRUDENT AND LIES IN WAIT FOR AN ENEMY WHO IS NOT , WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดที่รอคอยและเลือกใช้โอกาส จะเป็นได้รับชัยชนะ เช่นในภาพยนต์ พระนเรศวรฯ ได้วางแผนโจมตีกองทัพหงสาวดีที่ติดตามมาในขณะที่กำลังข้ามแม่น้ำสโตง ท่านได้ให้หลวงมนูฯคุมทัพที่ช่องสิงห์ โดยใช้ภูมิประเทศที่ได้เปรียบทางยุทธวิธี ที่เป็นผาสูง เผากองหญ้าที่มีน้ำมันลงมาจากที่สูง เพื่อสร้างความสับสนให้กับทหารของหงสาวดี และทำการรบทางบกเพื่อหน่วงเวลา จากนั้น ก็ล่อให้ทัพหงสาวดี ตามติดเข้ามาในคูที่เป็นไฟล้อมพวกทหารม้าไว้ จากโจมตีด้วยกำลังปืนใหญ่ ทำให้ทัพหงสาวดีไม่เป็นขบวน แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการวางแผนการยุทธ ที่ใช้การรอคอยให้กองทัพหงสาวดีตามเข้ามาในพื้นที่ที่มีการเตรียมการรอรับเป็นอย่างดี ทำให้กำลังกองทัพหงสาวดีที่มีมากกว่าลดลงได้ และเกิดความสับสนในกองทัพจนถึงขั้นพ่ายแพ้ในโอกาสต่อมา
๕. HE WHOSE GENERALS ARE ABLE AND NOT INTERFERED WITH BY THE SOVEREIGN WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดที่มีขุนศึกที่มีความสามารถ และไม่ถูกแทรกแซงจากทางการเมือง จะเป็นผู้ดีรับชัยชนะ จะเห็นได้จากภาพยนต์ที่พระมหาธรรมราชาได้สั่งการตอนที่พระเนรศได้เข้าไปลา เพื่อเดินทางไปร่วมงานพวายพระเพลิงพระบุเรงนองนั้น พระมหาธรรมราชาได้สั่งการกับพระนเรศว่า การใดที่เห็นว่าถูกต้อง กำดำเนินการอย่างนั้นไปเถิด อโยธยาขึ้นอยู่กับเจ้าแล้ว นั้นแสดงให้เห็นว่าพระมหาธรรมราชามิได้แทรกแซงการดำเนินการของพระเนรศวรแต่อย่างใด ทำให้พระนเรศวรมีอิสะในการปฏิบัติและไม่ต้องห่วงเนื่องจากมีพรเอกาทศรสอีกคน เป็นตัวตามตัวแทนท่านอยู่ ทำหสามารถรุกรบได้อย่างเต็มที่

Tuesday, February 06, 2007

บรรยายพิเศษ ว.สัมพันธ์ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ โดย ผบ.ทบ.

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. และประธาน คมช. มาบรรยายพิเศษให้นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหารและวิทยาลัยเหล่าทัพ ในวันที่ ๖ ก.พ.๕๐ ณ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง มีใจความที่สำคัญ ดังนี้
- ท่านกล่าวว่าปัจจุบันมีผู้ไม่หวังดี พยายามแยกประชาชนออกจากกองทัพ ท่านกล่าวว่าแนวคิดของท่านตั้งแต่เข้ามาเผ็น ผบ.ทบ. คือ การทำให้ประชาชนรักกองทัพ ตลอดจนพยายามทำให้กำลังพลมีความสำนึกรักในกองทัพ เช่น การแต่งกายเครื่องแบบฝึกสนาม เป็นต้น
- การทำให้ประชาชนรักกองทัพนั้น โดยการทำให้ประชาชนอยู่ใกล้กองทัพและรวมกันเป็นเนื้อเดียว
- ท่านกล่าวว่าสงครามตามแบบขนาดใหญ่ในปัจจุบันไม่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ แต่จะยังคงมีสงครามภายในประเทศ อันเกิดจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น ภัยยาเสพติด ภัยจากการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย ภัยจากการก่อการร้าย ภัยจากการแยกแยกของคนในชาติ ภัยจากความยากจน ภัยจากเส้นเขตแดนที่ยังไม่ชัดเจน ตลอดจนภัยจากการแย่งชิงทัพยากร ทำให้กลยุทธหนึ่งที่ท่านคิดคือการใช้ กองอำนวยการรักาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เดิมที่เคยใช้มาในการปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เข้ามาดำเนินการอย่างจริงจังมากกว่าในอดีต ทั้งนี้ ท่านก็เป็น ผอ.กอ.รมน. ด้วยในปัจจุบัน
- ยุทธสาสตรืที่ท่านใช้กับ กอ.รมน. คือเป็นแนวทางเดียวกันกับที่สหรัฐฯใช้ คือ Homeland Security ด้วยการพยายามเสนอให้มีการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเข้ามาอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาเดียวกัน เช่ย DSI ตม. และ ปปส. เป็นต้น ทั้งนี้ ท่านยังเสนอให้มีการปรับโครงสร้างของ DSI ใหม่ ให้เหมือนกับ FBI
- การพัฒนากองทัพบก ในฐานะ ผบ.ทบ. นั้น ท่านกล่าวว่าเป็นการบริหารจัดการที่อยู่ภายในใต้สภาวะงบประมาณที่จำกัดมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้กองทัพหยุดนิ่ง ไม่มีการพัฒนา แต่อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะที่ไม่สามารถเสริมสร้างกองทัพได้ ท่านเน้นไปที่การพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ ความสามารถ ด้วยการส่งเสริมให้กำลังพลมีการเรียนรู้จากข้างนอก เช่น การศึกาในระดับปริญญาต่าง ๆ และท่านมีแนวคิดให้กำลังพลทุกระดับชั้น ที่มีความรู้ในระดับหนึ่งเพิ่มความรู้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เช่น พลทหาร ที่จบระดับ ม.๖ ก็ส่งเสริมให้เรียนจบในระดับปริญญาตรี เป็นต้น ยังตบท้ายด้วยว่า "การเรียนมาก รู้มาก ทำให้คิดเป็น" และบอกอีกว่า "จนเงิน อย่าจนปัญญา"
- ด้านยุทธการ ท่านเน้นอำนาจการยิง และความคล่องตัว เป็นสิ่งที่กองทัพต้องพิจารณาในการดำเนินการต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ตลอดจนต้องสามารถดำรงความต่อเนื่องในการรบได้ด้วย
- ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ท่านกล่าวว่าประเทศเพื่อนบ้านที่จะม่ศักยภาพสูงในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ว่าน่าจะเป็นประเทศพม่า เนื่องจากปิดประเทศมาเป็นเวลานาน ทำหใยงคงมีทรัพยากรเหลืออยู่มากมาย จึงมองว่าการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับพม่าจะต้องดำเนินไปในทางที่ดี เป็นมิตรที่ดีต่อกัน
-สุดท้ายท่านการถึงการปฏิรูปการปกครอง ท่านต้องการเห็นอุดมการรณืรักชาติของคนในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันขาดความเอื้ออาทร ขาดความห่วงใย คิดแต่ตนเอง ลืมคิดถึงประเทศชาติว่าจะอยู่อย่างไร เป็นอย่างไร ท่านกล่าวว่าต้องสร้างความรู้รัก สามัคคี ความห่วงใยชาติบ้านเมืองให้เกิดขึ้นกับประชาชนในระดับเยวชนเป็นต้นไป ด้วยการใช้ กอ.รมน. เข้าไปมุ่งเน้นที่สถาบันการศึกษา ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ และจะเปิดการอบรม รอ. ทุกจังหวัด เพื่อสร้างเยาวชนที่เข้าใจในความมั่นคงและระบบกำลังพลสำรองที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งท่านยังสั่งการให้หน่วยทหารขนาดเล็กเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือการเกษตร พัฒนาหมู่บ้าน ให้คำแนะนำทางการเมือง เพื่อหวังผลในอนาคตทั้งด้านการเมือง สังคมและจิตวิทยา
- ยุทธสาสตร์เกาะติด เป็นยุทธศาสตรืหนึ่งที่กองทัพบกได้ดำเนินการในปัจจุบัน เพื่อหวังผลให้เข้าถึง เข้าใจ และสามารถนำข้อมูลมาประกอบการดำนเนินการได้ในอนาคต

Wednesday, January 03, 2007

National Powers Model


จากการได้ศึกษาพลังอำนาจแห่งชาติด้านต่าง ๆ มาเรียบร้อยแล้ว ผมมีความคิดว่าพลังอำนาจด้านต่าง ๆมีความสำคัญและสัมพันธ์กันอยู่ จึงได้เสนอรูปแบบของดมเดลความสัมพันธืของพลังอำนาจด้านต่าง ๆ ดดยมีความคิดว่าพลังอำนาจด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ซึ่งเป็นพื้นฐานของพลังอำนาจตั้งแต่ในอดีต น่าจะมีความสัมพันธ์กันในระดับที่เกี่ยวเนื่องกัน อันเนื่องมาจากพลังอำนาจด้านหนึ่ง หากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อพลังอำนาจอีกด้านหนึ่งด้วย จึงคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างพลังอำนาจด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา จึงน่าจะเป็นวงกลมสามวงมาคล้องกัน ในส่วนของพลังอำนาจด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นพลังอำนาจที่เสริมพลังอำนาจทั้งสามด้านที่กล่าวมา ให้พลังอำนาจทั้งสามด้าน มีความเข้มแข็งมากขึ้น และวงสุดท้ายน่าจะเป็นพลังอำนาจด้านการทหาร ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญที่จะโอบล้อมวงต่าง ๆ ไว้ภายใน เทียบได้กับเป็นกำแพงล้อมพลังอำนาจด้านต่าง ๆ ไว้ มิให้ถูกทำลายได้โดยตรง ดังรูป

หลักการพิจารณากำลังอำนาจทางทะลของมาฮาน

๑. Geographical Position ภูมิศาตร์ที่ตั้งของประเทศ
๒. Physical Conformation ธรรมชาติของกายภาพของประเทศ
๓. Extent of Territory แผ่นดินยื่นเข้าไปในประเทศอื่น
๔. Number of Population จำนวนประชากร
๕. National Character คุณลักษณะของประชากร
๖. Character and Policy of Government คุณลักษณะและนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการใช้ทะเล

หลักการเรียนประวัติศาสตร์

อ.สด แดงเอียด ได้บอกไว้ว่าการเรียนประวัติสาตร์นั้น มีหลักการกว้าง ๆ อยู่ สามประการ ได้แก่
๑. หลักแนวตั้ง ได้แก่ ให้ยึดถือตัวบุคคลสำคัญ เป็นหลักในการศึกษา
๒. หลักแนวนอน ได้แก่ ให้ยึดแกนเวลา ดดยต้องรู้เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
๓. หลักพื้นที่ ได้แก่ การยึดพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ ปัจจุบันเหลอวากให้ศึกษามากน้อยเพียงใด

Five Rings Model

แบบจำลอง ๕ วง เป็นโมเดลที่ใช้ในการทำสงคราม กล่าวคือเปรียบเทียบการยากในการเข้าถึง โดยวงในสุดจะเข้าถึงได้อยากที่สุด และหากเข้าถึงได้การที่จะมีชัยชนะก็จะมีมากกว่า โมเดลดังกล่าว บอกว่าวงที่ยากในการเข้าถึงมากที่สุดเรียงลำดับ ได้ดังนี้
๑. ผู้นำ – Leadership
๒. สิ่งจำเป็น – System Estentials
๓. สาธารณูปโภค – Infrastructures
๔. พลเมือง – Population ซึ่งในปัจจันคงไม่สามารถกระทำได้ จึงน่าจะเปลี่ยนเป็นขวัญและกำลังใจของพลเมือง
๕. กำลังทหาร – Military

Three Magic Words for Bruma

สิ่งสามอย่างที่มีต่อพม่าในปัจจุบัน ได้แก่
๑. Imperialism จักรวรรษนิยมพม่า
· ด้านต่อต้าน กรณีที่ถูกจักรวรรษนิยมตะวันตกครอบครอง
· ด้านเป็นเสียเองในอดีต ที่มีการยกทัพยึดครองประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
๒. Independence ต้องการมีอิสรภาพ
· ทั้งชนกลุ่มน้อยที่เสียผลประโยชน์
· การต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราช
๓. National Unity เอกภาพของชาติ
ปัญหาความมั่นคงระหว่างไทยกับพม่าในอนาคต
๑. ปัญหาเส้นเขตแดนที่ทับซ้อน
๒. ปัญหาผู้ลี้ภัย
๓. ปัญหายาเสพติด
๔. ปัญหาสาธารณสุข

พลังอำนาจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สามารถดูได้จาก
๑. GERD/GDP การลงทุนวิจัยต่อรายได้ประชาชาติ
๒. บุคคลากรทา
๓. การวิจัยมีมากน้อยเพียงใด
๔. ผลผลิตจากการวิจัย โดยดูจากจดสิทธิบัตรหรือผลงานตีพิมพ์
๕. กำลังในการแข่งขันกับต่างประเทศ
๖. ดุลการชำระเงินด้านเทคโนโลยี

Bush Doctrine

หลักนิยมของประธานาธิบดี George Bush หลังจากเกิดเหตุการณ์ 911 พอสรุปใจความหรือสาระสำคัญ ได้ดังนี้
๑. Pre-emptive Strike หมายถึง จะต้องโจมตีต่อข้าศึกหรือภัยคุกคามก่อนเสมอ
๒. Unilateralism หมายถึง การเป็นใหญ่แต่เพียงผุ้เดียว หมายถึงข้ามาคนเดียว ไม่เชื่อฟังใครทั้งนั้น แม้กระทั้ง UN
๓. Priority of American National Interests กล่าวคือ ผลประโยชน์ของชาติสหรัฐฯ ต้องมาก่อนเสมอ
๔. American Hegemonism หรือ Military Empire หมายถึง มีกำลังอำนาจทางทหารที่ยิ่งใหญ่เพียงผู้เดียว เพื่อสร้างจักรวรรดิ์นิยมสหรัฐฯ ด้วยการกล่าวหาแกนนำอันชั่วร้าย (Axis of Evils) อันได้แก่ อิรัก อิหร่าน และเกาหลีเหนือ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ใช้ Bush Doctrine
๑. มีคนเกลียดสหรัฐฯมากขึ้นจากการดำเนินการตาม Bush Doctrine
๒. NATO เกิดการแบ่งแยกมากขึ้น อันเน่องมากจากการที่สหรัฐฯ พยายามดึงยุโรปตะวันออกเข้ามาเป็น NATO
๓. จีนและรัสเซีย เกิดความหวาดระแวงสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ
๔. มีการเรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนตัวจากอิรัก จะเห็นได้ว่านักวิชาการได้คาดการณ์ว่า อนาคตของอิรักจะต้องมีการแบ่งดินแดนเช่นเดียวกันกับเวียดนามในอดีต
๕. สหรัฐฯ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเป็นฝ่ายเรียกร้อง
๖. บุช มีนโยบายที่จะแบ่งประเทศต่าง ๆ ออกเป้น ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝ่ายฉัน และกลุ่มฝ่ายศัตรู (Friend or Foe)
๗. นโยบายของบุช ทำให้ UN ทำงานได้ลำบากมากขึ้น
๘. สหรัฐฯ พยายามสนับสนุนอินเดียให้เป็นมหาอำนาจทางนิวเคลียร์ เพื่อค้านอำนาจจีน ซึ่งถูกมองว่าเป็นการดำเนินการแบบขาดมาตรฐาน (Double Standard) เช่น สหรัฐฯ เรียกร้องให้ อิหร่าน และเกาหลีเหนือเลิกการผลิตนิวเคลียร์ แต่ส่งเสริมให้อินเดีย เป็นต้นอนาคตของโลก ต้องดูว่าการเลือกตั้งใหม่ในสหรัฐฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สหรัฐฯ คงต้องกลับมาทบทวนตัวเองหรือไม่เกี่ยวกับหลักนิยมหรือนโยบายที่ผู้นำตนเองได้ดำเนินการลงไป

พลังอำนาจทางทหาร

เหมา เจ๋อ ตุง ได้กล่าวไว้ว่า “กำลังอำนาจมาจากกระบอกปืน แต่กระบอกปืนก็ไม่มีอำนาจไปมากกว่าพรรค” การที่จะดูว่าประเทศใดมีพลังอำนาจทางหทารมากกว่ากันนั้น สามารถดูได้จากสิ่งเหล่านี้ คือ
๑. หลักนิยมทางทหาร – Doctrine
๒. โครงสร้างการควบคุมบังคับบัญชา – Command and Control ทั้งทางสายการบังคับบัญชาและระบบควบคุมสั่งการ
๓. กำลังและการประกอบกำลัง – Size and Composition
๔. ที่ตั้ง และการวางกำลัง – Location and Disposition
๕. ความสามารถในการระดมสรรพกำลัง - Mobilization and Capability
๖. การส่งกำลังบำรุง – Logistic
๗. พันธมิตร และมิตรประเทศ – Alliance

จุดอ่อนและจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย

จุดอ่อน
๑. ยังมีการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
๒. คนส่วนน้อยได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจไทย
๓. เงินทุนไม่ลงในการสร้างฐานการผลิตที่แท้จริงของประเทศกับไปอยู่ในระบบหุ้น
๔. ปัจจัยส่วนบุคคลของไทย เช่น ความขยัน แรงงานถูก มีความรู้
๕. รายได้ประชากรไม่กระจายตัว ในสัดส่วนที่เหมาะสม เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงคือ ประชากรรายได้ต่ำ พร้อมที่จะเดินขบวน และสร้างความแตกแยก อันเนื่องมาจากความแตกต่างรายได้
๖. การแปลงนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ลงไปปกิบัติไม่เป็นผล
จุดแข็ง
๑. มีความหลากหลายทางทรัพยากรทางชีวภาพ
๒. การรวมตัวของ Asian Regional Forum – ARF ทำให้มีกำลังซ้อมากขึ้น
การดูพลังอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น สามารถดูได้จาก
๑. GDP per Capita คือ รายได้ของคนต่อหัว นั้นหมายถึงศักยภาพของคนในประเทศ แต่หากดูจาก GDP อย่างเดียวนั้นหมายถึงประเทศนั้นเป็นประเทศใหญ่หรือเล็กเท่านั้น
๒. International Reserves ได้แก่เงินทุนสะสม ในรูปเงินตรา ทองคำ ในเอเซีย ประเทศไต้หงันมีมากที่สุดในโลก
๓. อัตราส่วนของประชากรที่มีการศึกษาต่ออัตราการตายของเด็กแรกเกิด
๔. Saving per GDP จะต้องสูง เท่ากับมีสายงานหรือทรัพยากรในการลงทุนสูง ไม่ต้องพึ่งพาจากทุนต่างประเทศ

แผนการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

โดย อ.อุทิศ ขาวเธียร ปัจจุบันประเทสไทยได้จัดทำแผนพัฒนทเศรษฐิจและสังคม ฉบับ ๑๐ ใช้ระหว่างปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ โดยยึดหลักนโยบายเสรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นตัวตั้ง โดยสภาพัฒน์ ฯ จะเป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนดังกล่าวให้รัฐบาล ทั้งนี้ ได้ให้รายละเอียดความเป็นมาของแผนต่าง ๆ ไว้ดังนี้
แผน ๑ – ๔ เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrialize Development) เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน เป็นต้น รายได้ประชาชาติเพิ่ม แต่คนไทยไม่ได้อะไร เนื่องจากต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ และยังมีการกู้เงินต่างชาติมาลงทุนสูง ไม่มีการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
แผน ๔ – ๘ พัฒนาอย่างสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคม เสริมความยุติธรรม และเพื่อปลดแอกการพึ่งพาต่างประเทศ การเมืองเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาในช่วงนี้ เนื่องจากมีการเมืองไม่นิ่ง ขาดเสถียรภาพของภาคีผู้บริหารประเทศ
แผน ๘ – ๑๐ พัฒนาสมดุลและยั่งยืน สมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ปัญหาใหญ่ที่เจอคือคุณภาพของประชาชนไทย ยังขาดความรู้ ขาดการออม ติดเชื้อบริโภคนิยม ไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดการสร้างศักยภาพของเราเอง ไม่พึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไป ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม เป็น Zero Sum Game คือ ไม่เป็นศูนย์ แต่ติดลบ การพัฒนาในขณะที่คนไทยยังไม่พร้อม จึงทำให้เกิดปัญหา
แผน ๙ เริ่มมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ จึงเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น เมื่อการเมืองไม่เสถียร จึงทำให้เกิดจุดแตกหักในการพัฒนาตามแผน
แผน ๑๐ เป็นความหลังใหมของประเทศไทย จึงเป็นกาเสริมความยั่งยืนที่ชัดเจน ในการใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน และค่อยเป็นค่อยไป โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การพัฒนาคน และชุมชน ให้ยั่งยืนก่อน จึงจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืนได้ ภาครัฐจะต้องมุ่งเน้นถาคสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อให้ทันกับเศรษฐกิจที่ไปไกลมาก และประกอบกับภาครัฐ ต้องสร้างเศณษฐกิจแบบเป็นธรรม คือ การนำภาษีมาจ่ายอย่างเป็นธรรม ตลอดจนจะต้องมีการบริหารประเทสแบบธรรมาภิบาล
สรุป ได้ว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน ๑๐ ได้ยึดแนวทางปรัลญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาดำเนินการอย่างแท้จริง โดยเน้นการพัฒนาคนและชุมชนให้ยั่งยืนก่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถสรุปใจความของแผน ๑๐ ได้ดังนี้
๑. สร้างภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
๒. เศรษฐกิจต้องเป็นธรรม
๓. การบริหารปกครองต้องมีธรรมาภิบาล
ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน (Tropical Country) มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ต้องมีความศักยภาพในการนำมาใช้จึงจะเกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ยุทธสาสตร์ทหารที่ต้องนำมาใช้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
๑. พัฒนาศักยภาพของกำลังพลและกองทัพ เชื่อมดยงเป็นเครือข่าย ด้วยการรบร่วม
๒. ปรับโครงสร้างกองทัพให้มีคุณค่าและการป้องกันประเทศอย่างสมดุล
๓. สร้างระบบบริหารความเสี่ยงด้านการป้องกันประเทศ ทั้งแผนเผชิญเหตุการณ์วิกฤต และแผนป้องกันประเทศ
๔. สร้างธรรมาภิบาลในกองทัพ

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ

อ.ชุมพล เลิศรัฐการ ได้กล่าวในวิชา นโยบายควมมั่นคงแห่งชาติ ว่าตามบริบทความมั่นคง มีความหมายว่า ความมั่นคงปลอดภัย (Surviability and Safety) การเจริญเติบโตและการพัฒนา (Growth and Prosperity) และความสามารถในการเผชิญวิกฤตการณ์และการฟื้นคืนสภาพ (Crisis Resilience)
จากการตรวจสอบสภาพแวดล้อมโลกในปัจจุบัน หลังสงครามเย็น (Cold War)ได้ยุติลง สงครามร้อน (Hot War) ก็เกิดขึ้น จากความพยายามที่ทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์ (Ethic War) หรือการชำระล้างเผ่าพันธุ์ โดยใช้ศาสนาเข้ามาเป็นข้ออ้าง มีสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นหลัก ๆ เช่น สถานการณ์อิหร่าน เกาหลีเหนือ และอิรัก เป็นต้น
การกำหนดยุทธศาสตร์ใด ๆ ควรมีการพิจารณาโอกาสแห่งความสำเร็จด้วย ไม่ใช่ว่ากำหนดขึ้นมาลอย ๆ แต่ไม่สามารถกระทำได้
ความยุ่งยากในการกำหนดยุทธศาสตร์ ได้แก่
๑. การนำเอายุทธศาสตร์ต่าง ๆ นั้นมาพิจารณาโอกาสแห่งความสำเร็จ
๒. การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ เช่น การจัดทำแผน/โครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ ตลอดจนการกำกับดูแลให้บรรลุผล