JSC48

Wednesday, January 03, 2007

National Powers Model


จากการได้ศึกษาพลังอำนาจแห่งชาติด้านต่าง ๆ มาเรียบร้อยแล้ว ผมมีความคิดว่าพลังอำนาจด้านต่าง ๆมีความสำคัญและสัมพันธ์กันอยู่ จึงได้เสนอรูปแบบของดมเดลความสัมพันธืของพลังอำนาจด้านต่าง ๆ ดดยมีความคิดว่าพลังอำนาจด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ซึ่งเป็นพื้นฐานของพลังอำนาจตั้งแต่ในอดีต น่าจะมีความสัมพันธ์กันในระดับที่เกี่ยวเนื่องกัน อันเนื่องมาจากพลังอำนาจด้านหนึ่ง หากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อพลังอำนาจอีกด้านหนึ่งด้วย จึงคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างพลังอำนาจด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา จึงน่าจะเป็นวงกลมสามวงมาคล้องกัน ในส่วนของพลังอำนาจด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นพลังอำนาจที่เสริมพลังอำนาจทั้งสามด้านที่กล่าวมา ให้พลังอำนาจทั้งสามด้าน มีความเข้มแข็งมากขึ้น และวงสุดท้ายน่าจะเป็นพลังอำนาจด้านการทหาร ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญที่จะโอบล้อมวงต่าง ๆ ไว้ภายใน เทียบได้กับเป็นกำแพงล้อมพลังอำนาจด้านต่าง ๆ ไว้ มิให้ถูกทำลายได้โดยตรง ดังรูป

หลักการพิจารณากำลังอำนาจทางทะลของมาฮาน

๑. Geographical Position ภูมิศาตร์ที่ตั้งของประเทศ
๒. Physical Conformation ธรรมชาติของกายภาพของประเทศ
๓. Extent of Territory แผ่นดินยื่นเข้าไปในประเทศอื่น
๔. Number of Population จำนวนประชากร
๕. National Character คุณลักษณะของประชากร
๖. Character and Policy of Government คุณลักษณะและนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการใช้ทะเล

หลักการเรียนประวัติศาสตร์

อ.สด แดงเอียด ได้บอกไว้ว่าการเรียนประวัติสาตร์นั้น มีหลักการกว้าง ๆ อยู่ สามประการ ได้แก่
๑. หลักแนวตั้ง ได้แก่ ให้ยึดถือตัวบุคคลสำคัญ เป็นหลักในการศึกษา
๒. หลักแนวนอน ได้แก่ ให้ยึดแกนเวลา ดดยต้องรู้เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น
๓. หลักพื้นที่ ได้แก่ การยึดพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ ปัจจุบันเหลอวากให้ศึกษามากน้อยเพียงใด

Five Rings Model

แบบจำลอง ๕ วง เป็นโมเดลที่ใช้ในการทำสงคราม กล่าวคือเปรียบเทียบการยากในการเข้าถึง โดยวงในสุดจะเข้าถึงได้อยากที่สุด และหากเข้าถึงได้การที่จะมีชัยชนะก็จะมีมากกว่า โมเดลดังกล่าว บอกว่าวงที่ยากในการเข้าถึงมากที่สุดเรียงลำดับ ได้ดังนี้
๑. ผู้นำ – Leadership
๒. สิ่งจำเป็น – System Estentials
๓. สาธารณูปโภค – Infrastructures
๔. พลเมือง – Population ซึ่งในปัจจันคงไม่สามารถกระทำได้ จึงน่าจะเปลี่ยนเป็นขวัญและกำลังใจของพลเมือง
๕. กำลังทหาร – Military

Three Magic Words for Bruma

สิ่งสามอย่างที่มีต่อพม่าในปัจจุบัน ได้แก่
๑. Imperialism จักรวรรษนิยมพม่า
· ด้านต่อต้าน กรณีที่ถูกจักรวรรษนิยมตะวันตกครอบครอง
· ด้านเป็นเสียเองในอดีต ที่มีการยกทัพยึดครองประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
๒. Independence ต้องการมีอิสรภาพ
· ทั้งชนกลุ่มน้อยที่เสียผลประโยชน์
· การต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราช
๓. National Unity เอกภาพของชาติ
ปัญหาความมั่นคงระหว่างไทยกับพม่าในอนาคต
๑. ปัญหาเส้นเขตแดนที่ทับซ้อน
๒. ปัญหาผู้ลี้ภัย
๓. ปัญหายาเสพติด
๔. ปัญหาสาธารณสุข

พลังอำนาจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สามารถดูได้จาก
๑. GERD/GDP การลงทุนวิจัยต่อรายได้ประชาชาติ
๒. บุคคลากรทา
๓. การวิจัยมีมากน้อยเพียงใด
๔. ผลผลิตจากการวิจัย โดยดูจากจดสิทธิบัตรหรือผลงานตีพิมพ์
๕. กำลังในการแข่งขันกับต่างประเทศ
๖. ดุลการชำระเงินด้านเทคโนโลยี

Bush Doctrine

หลักนิยมของประธานาธิบดี George Bush หลังจากเกิดเหตุการณ์ 911 พอสรุปใจความหรือสาระสำคัญ ได้ดังนี้
๑. Pre-emptive Strike หมายถึง จะต้องโจมตีต่อข้าศึกหรือภัยคุกคามก่อนเสมอ
๒. Unilateralism หมายถึง การเป็นใหญ่แต่เพียงผุ้เดียว หมายถึงข้ามาคนเดียว ไม่เชื่อฟังใครทั้งนั้น แม้กระทั้ง UN
๓. Priority of American National Interests กล่าวคือ ผลประโยชน์ของชาติสหรัฐฯ ต้องมาก่อนเสมอ
๔. American Hegemonism หรือ Military Empire หมายถึง มีกำลังอำนาจทางทหารที่ยิ่งใหญ่เพียงผู้เดียว เพื่อสร้างจักรวรรดิ์นิยมสหรัฐฯ ด้วยการกล่าวหาแกนนำอันชั่วร้าย (Axis of Evils) อันได้แก่ อิรัก อิหร่าน และเกาหลีเหนือ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ใช้ Bush Doctrine
๑. มีคนเกลียดสหรัฐฯมากขึ้นจากการดำเนินการตาม Bush Doctrine
๒. NATO เกิดการแบ่งแยกมากขึ้น อันเน่องมากจากการที่สหรัฐฯ พยายามดึงยุโรปตะวันออกเข้ามาเป็น NATO
๓. จีนและรัสเซีย เกิดความหวาดระแวงสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ
๔. มีการเรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนตัวจากอิรัก จะเห็นได้ว่านักวิชาการได้คาดการณ์ว่า อนาคตของอิรักจะต้องมีการแบ่งดินแดนเช่นเดียวกันกับเวียดนามในอดีต
๕. สหรัฐฯ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเป็นฝ่ายเรียกร้อง
๖. บุช มีนโยบายที่จะแบ่งประเทศต่าง ๆ ออกเป้น ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝ่ายฉัน และกลุ่มฝ่ายศัตรู (Friend or Foe)
๗. นโยบายของบุช ทำให้ UN ทำงานได้ลำบากมากขึ้น
๘. สหรัฐฯ พยายามสนับสนุนอินเดียให้เป็นมหาอำนาจทางนิวเคลียร์ เพื่อค้านอำนาจจีน ซึ่งถูกมองว่าเป็นการดำเนินการแบบขาดมาตรฐาน (Double Standard) เช่น สหรัฐฯ เรียกร้องให้ อิหร่าน และเกาหลีเหนือเลิกการผลิตนิวเคลียร์ แต่ส่งเสริมให้อินเดีย เป็นต้นอนาคตของโลก ต้องดูว่าการเลือกตั้งใหม่ในสหรัฐฯ จะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สหรัฐฯ คงต้องกลับมาทบทวนตัวเองหรือไม่เกี่ยวกับหลักนิยมหรือนโยบายที่ผู้นำตนเองได้ดำเนินการลงไป

พลังอำนาจทางทหาร

เหมา เจ๋อ ตุง ได้กล่าวไว้ว่า “กำลังอำนาจมาจากกระบอกปืน แต่กระบอกปืนก็ไม่มีอำนาจไปมากกว่าพรรค” การที่จะดูว่าประเทศใดมีพลังอำนาจทางหทารมากกว่ากันนั้น สามารถดูได้จากสิ่งเหล่านี้ คือ
๑. หลักนิยมทางทหาร – Doctrine
๒. โครงสร้างการควบคุมบังคับบัญชา – Command and Control ทั้งทางสายการบังคับบัญชาและระบบควบคุมสั่งการ
๓. กำลังและการประกอบกำลัง – Size and Composition
๔. ที่ตั้ง และการวางกำลัง – Location and Disposition
๕. ความสามารถในการระดมสรรพกำลัง - Mobilization and Capability
๖. การส่งกำลังบำรุง – Logistic
๗. พันธมิตร และมิตรประเทศ – Alliance

จุดอ่อนและจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย

จุดอ่อน
๑. ยังมีการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
๒. คนส่วนน้อยได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจไทย
๓. เงินทุนไม่ลงในการสร้างฐานการผลิตที่แท้จริงของประเทศกับไปอยู่ในระบบหุ้น
๔. ปัจจัยส่วนบุคคลของไทย เช่น ความขยัน แรงงานถูก มีความรู้
๕. รายได้ประชากรไม่กระจายตัว ในสัดส่วนที่เหมาะสม เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงคือ ประชากรรายได้ต่ำ พร้อมที่จะเดินขบวน และสร้างความแตกแยก อันเนื่องมาจากความแตกต่างรายได้
๖. การแปลงนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ลงไปปกิบัติไม่เป็นผล
จุดแข็ง
๑. มีความหลากหลายทางทรัพยากรทางชีวภาพ
๒. การรวมตัวของ Asian Regional Forum – ARF ทำให้มีกำลังซ้อมากขึ้น
การดูพลังอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น สามารถดูได้จาก
๑. GDP per Capita คือ รายได้ของคนต่อหัว นั้นหมายถึงศักยภาพของคนในประเทศ แต่หากดูจาก GDP อย่างเดียวนั้นหมายถึงประเทศนั้นเป็นประเทศใหญ่หรือเล็กเท่านั้น
๒. International Reserves ได้แก่เงินทุนสะสม ในรูปเงินตรา ทองคำ ในเอเซีย ประเทศไต้หงันมีมากที่สุดในโลก
๓. อัตราส่วนของประชากรที่มีการศึกษาต่ออัตราการตายของเด็กแรกเกิด
๔. Saving per GDP จะต้องสูง เท่ากับมีสายงานหรือทรัพยากรในการลงทุนสูง ไม่ต้องพึ่งพาจากทุนต่างประเทศ

แผนการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

โดย อ.อุทิศ ขาวเธียร ปัจจุบันประเทสไทยได้จัดทำแผนพัฒนทเศรษฐิจและสังคม ฉบับ ๑๐ ใช้ระหว่างปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ โดยยึดหลักนโยบายเสรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นตัวตั้ง โดยสภาพัฒน์ ฯ จะเป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนดังกล่าวให้รัฐบาล ทั้งนี้ ได้ให้รายละเอียดความเป็นมาของแผนต่าง ๆ ไว้ดังนี้
แผน ๑ – ๔ เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrialize Development) เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน เป็นต้น รายได้ประชาชาติเพิ่ม แต่คนไทยไม่ได้อะไร เนื่องจากต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ และยังมีการกู้เงินต่างชาติมาลงทุนสูง ไม่มีการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
แผน ๔ – ๘ พัฒนาอย่างสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคม เสริมความยุติธรรม และเพื่อปลดแอกการพึ่งพาต่างประเทศ การเมืองเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาในช่วงนี้ เนื่องจากมีการเมืองไม่นิ่ง ขาดเสถียรภาพของภาคีผู้บริหารประเทศ
แผน ๘ – ๑๐ พัฒนาสมดุลและยั่งยืน สมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ปัญหาใหญ่ที่เจอคือคุณภาพของประชาชนไทย ยังขาดความรู้ ขาดการออม ติดเชื้อบริโภคนิยม ไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดการสร้างศักยภาพของเราเอง ไม่พึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไป ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม เป็น Zero Sum Game คือ ไม่เป็นศูนย์ แต่ติดลบ การพัฒนาในขณะที่คนไทยยังไม่พร้อม จึงทำให้เกิดปัญหา
แผน ๙ เริ่มมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ จึงเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น เมื่อการเมืองไม่เสถียร จึงทำให้เกิดจุดแตกหักในการพัฒนาตามแผน
แผน ๑๐ เป็นความหลังใหมของประเทศไทย จึงเป็นกาเสริมความยั่งยืนที่ชัดเจน ในการใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน และค่อยเป็นค่อยไป โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การพัฒนาคน และชุมชน ให้ยั่งยืนก่อน จึงจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืนได้ ภาครัฐจะต้องมุ่งเน้นถาคสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อให้ทันกับเศรษฐกิจที่ไปไกลมาก และประกอบกับภาครัฐ ต้องสร้างเศณษฐกิจแบบเป็นธรรม คือ การนำภาษีมาจ่ายอย่างเป็นธรรม ตลอดจนจะต้องมีการบริหารประเทสแบบธรรมาภิบาล
สรุป ได้ว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน ๑๐ ได้ยึดแนวทางปรัลญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาดำเนินการอย่างแท้จริง โดยเน้นการพัฒนาคนและชุมชนให้ยั่งยืนก่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถสรุปใจความของแผน ๑๐ ได้ดังนี้
๑. สร้างภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
๒. เศรษฐกิจต้องเป็นธรรม
๓. การบริหารปกครองต้องมีธรรมาภิบาล
ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน (Tropical Country) มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ต้องมีความศักยภาพในการนำมาใช้จึงจะเกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ยุทธสาสตร์ทหารที่ต้องนำมาใช้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
๑. พัฒนาศักยภาพของกำลังพลและกองทัพ เชื่อมดยงเป็นเครือข่าย ด้วยการรบร่วม
๒. ปรับโครงสร้างกองทัพให้มีคุณค่าและการป้องกันประเทศอย่างสมดุล
๓. สร้างระบบบริหารความเสี่ยงด้านการป้องกันประเทศ ทั้งแผนเผชิญเหตุการณ์วิกฤต และแผนป้องกันประเทศ
๔. สร้างธรรมาภิบาลในกองทัพ

นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ

อ.ชุมพล เลิศรัฐการ ได้กล่าวในวิชา นโยบายควมมั่นคงแห่งชาติ ว่าตามบริบทความมั่นคง มีความหมายว่า ความมั่นคงปลอดภัย (Surviability and Safety) การเจริญเติบโตและการพัฒนา (Growth and Prosperity) และความสามารถในการเผชิญวิกฤตการณ์และการฟื้นคืนสภาพ (Crisis Resilience)
จากการตรวจสอบสภาพแวดล้อมโลกในปัจจุบัน หลังสงครามเย็น (Cold War)ได้ยุติลง สงครามร้อน (Hot War) ก็เกิดขึ้น จากความพยายามที่ทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์ (Ethic War) หรือการชำระล้างเผ่าพันธุ์ โดยใช้ศาสนาเข้ามาเป็นข้ออ้าง มีสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นหลัก ๆ เช่น สถานการณ์อิหร่าน เกาหลีเหนือ และอิรัก เป็นต้น
การกำหนดยุทธศาสตร์ใด ๆ ควรมีการพิจารณาโอกาสแห่งความสำเร็จด้วย ไม่ใช่ว่ากำหนดขึ้นมาลอย ๆ แต่ไม่สามารถกระทำได้
ความยุ่งยากในการกำหนดยุทธศาสตร์ ได้แก่
๑. การนำเอายุทธศาสตร์ต่าง ๆ นั้นมาพิจารณาโอกาสแห่งความสำเร็จ
๒. การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ เช่น การจัดทำแผน/โครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ ตลอดจนการกำกับดูแลให้บรรลุผล