JSC48

Thursday, March 01, 2007

เกร็ดการรบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามหลักของซุนวู

๑. HE WHO KNOWS WHEN HE CAN FIGHT AND WHEN HE CAN NOT WILL BE VICTORIOUS. กล่าวคือ แม่ทัพใดรู้ว่าเมื่อใดควรรบและเมื่อใดไม่ควรรบ จะเป็นผู้กำชัยชนะ จากภาพยนต์นเรศวร แสดงให้เห็นตอนที่พระนันทบุเรงส่ง ๓ ทัพ ขึ้นตีเมืองคัง ที่อยู่ในที่มั่นที่สูงชัน การเดินทางเข้าตีทางตรงเป็นอุปสรรคอย่างมาก และเป็นจุดล่อแหลมที่จะถูกโจมตีจากข้าศึกได้ พระนเรศวรฯ ได้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของ ๒ ทัพของทัพจากหงสาวดี และทัพจากตองอู ทำให้พระนเรศวรฯ ได้มองว่าน่าจะมีหนทางที่ดีกว่าเข้าตีทางตรง จึงได้เข้าตีทางด้านหลังของเมือง ซึ่งเป็นทางขนเสบียงและน้ำขึ้นเมือง ทำให้สามารถตีได้สำเร็จ ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าท่านรุ้ว่าเมื่อใดควรรบ และเมื่อใดไม่ควรรบ
อีกฉากหนึ่งที่แสดงเห็นถึงความคิดของพระนเรศวรฯ ที่ทราบว่าเมื่อใดควรรบ และเมื่อใดไม่ควรรบ ก็คือฉากที่ท่านเข้าไปปรึกษาข้อราชการกับพระมหาธรรมราชาที่กรุงอโยธยา เกี่ยวกับการที่พระบุเรงนองได้เสียชีวิต ซึ่งโดยธรรมชาติของเมืองประเทศราชแล้ว มักจะมีความคิดที่จะแข็งข้อ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป แต่พระนเรศฯ ได้ยอมที่จะไปร่วมงานของพระบุเรงนอง อันเป็นการแสดงออกอย่างกลาย ๆ ว่ายอมที่จะเป็นเมืองประเทศราชของหงวฃสาวดีต่อไป อันเนื่องมาจากกำลังพลและการเตรียมการที่ยังไม่พร้อมในการที่จะทำการรบกับหงสาวดีได้ นั้นหมายถึงว่าท่านได้มีการประเมินสภาพแวดล้อมและมีการเปรียบเทียบกำลังรบระหว่างอโยธยากับหงสาวดีแล้วว่าเทียบกันไม่ได้ จึงจำเป็นต้องยอมไปหงสาวดี เพื่อร่วมถวายพระเพลิงพระเจ้าบุเรงนองในครั้งนั้น
๒. HE WHO UNDERSTANDS HOW TO USE BOTH LARGE AND SMALL FORCE WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดเข้าใจการใช้กำลัง ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก จะเป็นผู้กำชัยชนะ ในภาพยนต์แสดงให้เห็นว่าพระนเรศวรฯ ได้เข้าใจการใช้กำลังกองทัพเป็นอย่างดี ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ตั้งแต่ตอนที่เข้าตีเมืองคัง ด้วยกองทัพขนาดเล็กที่สุดที่เปรียบเทียบกับอีก ๒ ทัพ แต่สามารถยึดเมืองคังได้ด้วยยุทธวิธีจลยุทธ์ แสดงให้เห็นถึงแนวทางการใช้กำลังขนาดเล็กเป็นอย่างดี และเมื่อท่านได้รวบรวมกำลัง รวมกับมอญ แล้วเกณฑืไพร่พลกลับอโยธยา ผ่านแม่น้ำสโตง ก็แสดงให้เห็นว่าท่านมีความสามรถในการเดินทัพที่มีกำลังพลมากหรือขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี มีการวางแผนการเดินทัพที่ดี ชัดเจน และรอบรู้ข้าศึก ทำให้สามารถชนะทัพหงวสาวดีที่ตามติดมาได้
๓. HE WHOSE RANKS ARE UNITED IN PURPOSE WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดที่รู้ในตำแหน่งหน้าที่ของตน และต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของชาติ จะเป็นผู้กำชัยชนะ ในภาพยนต์ แสดงให้เห็นว่า พระนเรศวรฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการรุกรานจากหงสาวดี ดังนั้น ในเบื้องต้นท่านใช้นโยบายทางการเมืองระหว่าวประเทศเข้าดำเนินการด้วยการเป็นประเทศราชที่ดีของหงสาวดี เพื่อรวบรวมไพร่พลให้มีความพร้อม ตลอดจนสร้างเสริมบารมีให้เกิดขึ้นกับตัวท่าน จนเป็นที่ยอมรับจากเจ้าเมืองต่าง ๆ เข้ามาสวามีภักดิ์ จึงทำการตัดสัมพันธืไมตรีจากหงสาวดี
๔. HE WHO IS PRUDENT AND LIES IN WAIT FOR AN ENEMY WHO IS NOT , WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดที่รอคอยและเลือกใช้โอกาส จะเป็นได้รับชัยชนะ เช่นในภาพยนต์ พระนเรศวรฯ ได้วางแผนโจมตีกองทัพหงสาวดีที่ติดตามมาในขณะที่กำลังข้ามแม่น้ำสโตง ท่านได้ให้หลวงมนูฯคุมทัพที่ช่องสิงห์ โดยใช้ภูมิประเทศที่ได้เปรียบทางยุทธวิธี ที่เป็นผาสูง เผากองหญ้าที่มีน้ำมันลงมาจากที่สูง เพื่อสร้างความสับสนให้กับทหารของหงสาวดี และทำการรบทางบกเพื่อหน่วงเวลา จากนั้น ก็ล่อให้ทัพหงสาวดี ตามติดเข้ามาในคูที่เป็นไฟล้อมพวกทหารม้าไว้ จากโจมตีด้วยกำลังปืนใหญ่ ทำให้ทัพหงสาวดีไม่เป็นขบวน แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการวางแผนการยุทธ ที่ใช้การรอคอยให้กองทัพหงสาวดีตามเข้ามาในพื้นที่ที่มีการเตรียมการรอรับเป็นอย่างดี ทำให้กำลังกองทัพหงสาวดีที่มีมากกว่าลดลงได้ และเกิดความสับสนในกองทัพจนถึงขั้นพ่ายแพ้ในโอกาสต่อมา
๕. HE WHOSE GENERALS ARE ABLE AND NOT INTERFERED WITH BY THE SOVEREIGN WILL BE VICTORIOUS . หมายถึง แม่ทัพใดที่มีขุนศึกที่มีความสามารถ และไม่ถูกแทรกแซงจากทางการเมือง จะเป็นผู้ดีรับชัยชนะ จะเห็นได้จากภาพยนต์ที่พระมหาธรรมราชาได้สั่งการตอนที่พระเนรศได้เข้าไปลา เพื่อเดินทางไปร่วมงานพวายพระเพลิงพระบุเรงนองนั้น พระมหาธรรมราชาได้สั่งการกับพระนเรศว่า การใดที่เห็นว่าถูกต้อง กำดำเนินการอย่างนั้นไปเถิด อโยธยาขึ้นอยู่กับเจ้าแล้ว นั้นแสดงให้เห็นว่าพระมหาธรรมราชามิได้แทรกแซงการดำเนินการของพระเนรศวรแต่อย่างใด ทำให้พระนเรศวรมีอิสะในการปฏิบัติและไม่ต้องห่วงเนื่องจากมีพรเอกาทศรสอีกคน เป็นตัวตามตัวแทนท่านอยู่ ทำหสามารถรุกรบได้อย่างเต็มที่

0 Comments:

Post a Comment

<< Home