JSC48

Wednesday, January 03, 2007

แผนการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

โดย อ.อุทิศ ขาวเธียร ปัจจุบันประเทสไทยได้จัดทำแผนพัฒนทเศรษฐิจและสังคม ฉบับ ๑๐ ใช้ระหว่างปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔ โดยยึดหลักนโยบายเสรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นตัวตั้ง โดยสภาพัฒน์ ฯ จะเป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนดังกล่าวให้รัฐบาล ทั้งนี้ ได้ให้รายละเอียดความเป็นมาของแผนต่าง ๆ ไว้ดังนี้
แผน ๑ – ๔ เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrialize Development) เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน เป็นต้น รายได้ประชาชาติเพิ่ม แต่คนไทยไม่ได้อะไร เนื่องจากต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ และยังมีการกู้เงินต่างชาติมาลงทุนสูง ไม่มีการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
แผน ๔ – ๘ พัฒนาอย่างสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคม เสริมความยุติธรรม และเพื่อปลดแอกการพึ่งพาต่างประเทศ การเมืองเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาในช่วงนี้ เนื่องจากมีการเมืองไม่นิ่ง ขาดเสถียรภาพของภาคีผู้บริหารประเทศ
แผน ๘ – ๑๐ พัฒนาสมดุลและยั่งยืน สมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ปัญหาใหญ่ที่เจอคือคุณภาพของประชาชนไทย ยังขาดความรู้ ขาดการออม ติดเชื้อบริโภคนิยม ไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดการสร้างศักยภาพของเราเอง ไม่พึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไป ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม เป็น Zero Sum Game คือ ไม่เป็นศูนย์ แต่ติดลบ การพัฒนาในขณะที่คนไทยยังไม่พร้อม จึงทำให้เกิดปัญหา
แผน ๙ เริ่มมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ จึงเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น เมื่อการเมืองไม่เสถียร จึงทำให้เกิดจุดแตกหักในการพัฒนาตามแผน
แผน ๑๐ เป็นความหลังใหมของประเทศไทย จึงเป็นกาเสริมความยั่งยืนที่ชัดเจน ในการใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน และค่อยเป็นค่อยไป โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การพัฒนาคน และชุมชน ให้ยั่งยืนก่อน จึงจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืนได้ ภาครัฐจะต้องมุ่งเน้นถาคสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อให้ทันกับเศรษฐกิจที่ไปไกลมาก และประกอบกับภาครัฐ ต้องสร้างเศณษฐกิจแบบเป็นธรรม คือ การนำภาษีมาจ่ายอย่างเป็นธรรม ตลอดจนจะต้องมีการบริหารประเทสแบบธรรมาภิบาล
สรุป ได้ว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน ๑๐ ได้ยึดแนวทางปรัลญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาดำเนินการอย่างแท้จริง โดยเน้นการพัฒนาคนและชุมชนให้ยั่งยืนก่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถสรุปใจความของแผน ๑๐ ได้ดังนี้
๑. สร้างภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
๒. เศรษฐกิจต้องเป็นธรรม
๓. การบริหารปกครองต้องมีธรรมาภิบาล
ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน (Tropical Country) มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ต้องมีความศักยภาพในการนำมาใช้จึงจะเกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ยุทธสาสตร์ทหารที่ต้องนำมาใช้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ
๑. พัฒนาศักยภาพของกำลังพลและกองทัพ เชื่อมดยงเป็นเครือข่าย ด้วยการรบร่วม
๒. ปรับโครงสร้างกองทัพให้มีคุณค่าและการป้องกันประเทศอย่างสมดุล
๓. สร้างระบบบริหารความเสี่ยงด้านการป้องกันประเทศ ทั้งแผนเผชิญเหตุการณ์วิกฤต และแผนป้องกันประเทศ
๔. สร้างธรรมาภิบาลในกองทัพ

0 Comments:

Post a Comment

<< Home