JSC48

Wednesday, July 25, 2007

กิจกรรมร่วมมือทางวิชาการครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันที่ ๒๔ ก.ค.๕๐

ภายใต้การเสวนาเรื่องการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ได้อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร และอาจารย์วิชัย รูปคำดี มาเป็นตัวหลักในการเสวนา ได้รับทราบจากท่านอาจารย์วิชัย ฯ ว่าในหลวงของเราท่านมองการไกลในด้านทหารมาก จากสภาพภัยคุกคามในเวลานั้นได้แก่เวียดนาม จึงมองว่าการสร้างกองทัพเพื่อต้านทานมความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น ท่านจึงนำโครงการอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เข้ามาเป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ หรอทหารบกจะเรียกว่า มาคู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เส้นทางเคลื่อนที่ของกำลังทางบกจะเป็นไปได้น้อยลง ทำให้เราสามารถลดกำลังพลที่ต้องเป็นกำลังเผชิญหน้าทางกว้างลงได้ นี้เรียกว่าเป็นอัจริยะอีกด้านของในหลวงเรา
ส่วนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกองทัพนั้น มีปัญหาหลัก ๆ อยู่ที่ทัศนะคติ อาจารย์วิวัฒน์ ฯ กล่าวว่า ในโลกนี้แนวคิดแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านสุดโตก คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร หรือยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุด เช่น ภูฐาน ที่กำหนดการเข้าประเทศของต่างชาติเพียงแค่ ประมาณ ๕ พันคนเท่านั้น ท่านบอกว่าเป็นการป้องกันการแย่งอากาสและน้ำของประชาชนเขา ที่มีอยู่จำกัดอยู่แล้ว แต่จริงแล้วผมกับมองว่าน่าจะเป็นการป้องกันมิให้ทรัพยากรอื่น ๆ ด้วย กับอีกแนวคิดหนึ่งคือพวกทุนนิยม ได้แก่ พวก trade economy พวกนี้จะมองที่ GDP เป็นหลัก พวกนี้จะทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการรักษ์ธรรมชาติ จากสองแนวคิดนี้ ปรัชญาของในหลวงท่านอยู่ที่ตรงกลางภายใต้คำว่า medium path คือเดินสายกลาง มิได้บอกว่าไม่ต้องมีการทำการค้า ทำได้ แต่ต้องมีการพึ่งพาตนเองได้ซัก ๑ ใน ๓ ส่วนก็นับว่าดีแล้ว ภายใต้แนวคิดสุดโตกนั้น มีความจำเป็นมีองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้พื้นบ้านให้สามารถสนับสนุนประเทศได้ โดยมิต้องพึ่งพาประเทศอื่น ส่วนแนวคิดทุนนิยมนั้น สิ่งสำคัญต้องมีจริยธรรม เช่นหลักของธรรมมาภิบาล เป็นต้น
อ.วิชัย ฯ ได้สรุปว่าการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกองทัพนั้น ท่านมุ่งหวังที่ระดับผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วย ที่จะต้องเป้นกำลังในการขับเคลื่อนให้กำลังพลของหน่วยเข้าใจปรัชญาดังกล่าว และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนต่อไป

0 Comments:

Post a Comment

<< Home