JSC48

Wednesday, July 25, 2007

กิจกรรมร่วมมือทางวิชาการครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ ก.ค.๕๐

ภายใต้การเสวนาเรื่อง บทบาทของกองทัพทศวรรษหน้าในมุมมองของนักวิชาการ โดยมี นพ.ประเวศ วะสี ดร.ชัยวัฒน์ ศัลยกำธร และ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร เป็นผู้เสวนา ได้รับความรู้หลากหลาย ประเด็นสำคัญที่ได้รับ
๑. อ.ชัยวัฒน์ ฯ กล่าวว่า บริบทของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แผนที่ที่ทหารจะต้องนำมาพิจารณาให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะตัสินใจว่าจะดำเนินการอย่งไรในอนาคตได้แก่
  • แผนที่รัฐประเทศ อันที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก อาทิ เช่น ภาวะโลกร้อน ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง อากาศเปลี่ยนแปลง แผนที่รัฐประเทศจะมีการเปลี่ยนเปลง กองทัพต้องมองดูว่าจะวางตัวอย่างไรหากแผนที่นี้มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  • แผนที่ทางวัฒนธรรม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้ายสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะเห็ได้ว่าสิ่งสำคัญคือการเข้าใจในวัฒนธรรมของไทยมุสลิม แล้วการแก้ปัญหาจะทำได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันกองทัพก็ได้พยายามดำเนินการอยู่ แต่ต้องเข้าใข้ในแผนที่วัฒนาธรรมนี้ให้ถ่องแท้
  • แผนที่ความจงรักภักดี จะเป็นได้ว่า ระบบทักษิณ นำมาซึ่งความแตกแยกอย่างเด่นชัดหลาย ๆ เรื่อง โดยเพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของประเทศ ทำให้กองทัพต้องมองแผนที่นี้ให้เข้าใจ และพยายามเข้าไปแก้ไขให้เกิดความจงรักภักดีอย่างที่เคยเป็นในอดีต
  • แผนที่ภายในกองทัพ จากการปกิรูปการปกครอง ๑๙ ก.ย.๔๙ ทำให้ทหารถูกมองในภาพของการกลับคืนมาของอำนาจเก่า ๆ และการสืบทอดอำนาจ จึงทำให้กองทัพจะต้องหันกับไปพิจารณาถึงการเป้นทหารอาชีพหรือไม่ บทบาทนั้นกองทัพจะต้องเดินอย่างไรนั้น จะต้องชั่งใจให้มาก

๒. อ.ปณิธาน ฯ ได้ให้ความรู้ว่าสิ่งสำคัญของบทบาทกองทัพได้แก่ การรู้สนามรบที่แท้จริง ซึ่งท่านเรียกว่า สมรภูมิ สรุปได้ว่า

  • สมรภูมิภายใน ได้แก่ กองทัพนั้นเอง จะต้องเอาชนะองค์กรของตนเองให้ได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การบริหารจัดการ การควบคุมและสั่งการ ตลอดจนการควบคุมการปฏิบัติ ให้เป็นรูปธรรม การปรับปรุงดังกล่าวภายใต้บริบทต่าง ๆ ที่ อ.ชัยวัฒน์ ได้กล่าวไป จะทำให้กองทัพรู้ว่าต้องทำอะไร ต้องเครียมอะไร ต้องเสริมอะไร จึงจะทำให้การรบสามารถชนะได้
  • สมรภูมืภายนอก ได้แก่ ภัยคกคามรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งจะเป็นหลายมิติ และสลับซับซ้อนที่เรียกว่า complex theory นั้น กองทัพจะต้องให้ความสนใจ ให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ การรบเพียงเหล่าทัพเดียวจะไม่สามารถกระทำได้ จะต้องมีการรบหลายมิติ ดังนั้น การพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับภัยคุกคามดังกล่าวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ เช่น การกลับคืนมาของ กอ.รมน. จะต้องมีการปรับองค์กร และภารกิจให้ชัดเจน ให้เกิดความ sexy มิเช่นนั้น จะไม่สามารถรองรับการปฏิบัติงานในอนาคตได้ เช่นกัน ศอ.บต. ต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานใหม่ ต้องจัดให้เป็นองค์กรใหม่ อย่านำลักษระขององค์กรในอดีตกับมาใช้ จะไม่สำเร็จ

0 Comments:

Post a Comment

<< Home