JSC48

Wednesday, July 25, 2007

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมร่วมมือทางวิชาการ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐

จากการเสวนาเรื่องบทบาทของกองทัพทศวรรษหน้าในมุมมองของนักวิชาการนั้น ได้ประโยชน์มากในการนำกลับไปเขียนยุทธศาสตร์ทหารของนักศึกษา ทั้งนี้ การเขียนยุทธศาสตร์ทหารของนัดกศึกษา ได้จากการสัมมนานักศึกษาด้วยกัน ยังขาดมุมมองต่าง ๆ มากมาย จากบุคคลภายนอก อาทิ เช่น นักวิชาการ ประชาชน ดังนั้น ผมมีข้อเสนอแนะว่า การจัดความร่วมมือทางวิชาการนี้ น่าจะจัดให้เร็วขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเสวนาต่าง ๆ นี้กับมาใช้ในการเขียนยุทธศาสตร์ทหาร หรือหากมีงบประมาณเพียงพอหรือวิทยาลัยเสนอเป็นแผนงานจัดการเสวนาระดมความคิดเห็นเรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์ทหารจากหลากหลายหน่วยงาน จะทำให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ หรือเกิดจินตนาการใหม่ ให้กับกองทัพได้ครับ

ปัญหาการจัดกิจกรรมร่วมมือทางวิชาการ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐

๑. การใช้สถานที่สโมสร ซึ่งอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของ ยบ.ทหาร แต่คาดกำลังพลในการจัดการ เช่น พลทหาร จะต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ทำให้เกิดความล่าช้า และสับสน
๒. อุปกรณ์จัดสถานที่บางอย่าง เช่น ที่คุมเก้าอี้ต่าง ๆ จะต้องของจาก สลก.
๓. เครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่ำ เช่น ถ่านของวิทยุส่งได้ในเวลาจำกัด ทำให้การประสานการปกิบัติได้ล่าช้า
๔. ขาดการวางแผนจัดประสานงานหรือ Point Contact ที่ดี เช่น การกำกับดูแลจะต้องมีศูนย์กลางที่คอยแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ จะต้องรายงานข้อขัดข้องเข้ามาเพื่อให้ศูนยืกลางดังกล่าวแก้ไขหรือประสานให้ทันท่วงที
๕. ขาด จนท.Organizer ผมต้องเข้าไปรับตำแห่งนี้โดยความจำเป็น ต้องกำกับเวที กำกับเวลา กำกับวิทยากร และกำกับเครื่องเสียงและแสงสี ตลอดจนการฉายแผน power point ซึ่งผมต้องยอมรับว่ามีเวลาเตรียมการน้อย ทำให้เกิดปัญหาเล็ก ๆ น้อย เช่น ไมค์หอน เปิดเพลงมหาฤกษ์ช้า กำกับการเข้าห้องของนักศึกษาไม่เป็นไปตามเวลา ฯลฯ
๖. ไฟฟ้าในสโมสรไม่เพียงพอ เมื่อมีการแสดงนิทรรศการ และใช้ Spotlight พร้อม ๆ กัน
๗. ที่ตั้งอาหารว่างในวันแรกไม่เหมาะสม เนื่องจากไปตั้งที่ด้านหลังของสโมสร นักศึกษาไม่เดินไป วันที่สองแก้ปัญหาโดยมาตั้งด้านข้างดีขึ้นมาก

กิจกรรมร่วมมือทางวิชาการครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ ก.ค.๕๐

ภายใต้การเสวนาเรื่อง บทบาทของกองทัพทศวรรษหน้าในมุมมองของนักวิชาการ โดยมี นพ.ประเวศ วะสี ดร.ชัยวัฒน์ ศัลยกำธร และ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร เป็นผู้เสวนา ได้รับความรู้หลากหลาย ประเด็นสำคัญที่ได้รับ
๑. อ.ชัยวัฒน์ ฯ กล่าวว่า บริบทของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แผนที่ที่ทหารจะต้องนำมาพิจารณาให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะตัสินใจว่าจะดำเนินการอย่งไรในอนาคตได้แก่
  • แผนที่รัฐประเทศ อันที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก อาทิ เช่น ภาวะโลกร้อน ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง อากาศเปลี่ยนแปลง แผนที่รัฐประเทศจะมีการเปลี่ยนเปลง กองทัพต้องมองดูว่าจะวางตัวอย่างไรหากแผนที่นี้มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  • แผนที่ทางวัฒนธรรม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้ายสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะเห็ได้ว่าสิ่งสำคัญคือการเข้าใจในวัฒนธรรมของไทยมุสลิม แล้วการแก้ปัญหาจะทำได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันกองทัพก็ได้พยายามดำเนินการอยู่ แต่ต้องเข้าใข้ในแผนที่วัฒนาธรรมนี้ให้ถ่องแท้
  • แผนที่ความจงรักภักดี จะเป็นได้ว่า ระบบทักษิณ นำมาซึ่งความแตกแยกอย่างเด่นชัดหลาย ๆ เรื่อง โดยเพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของประเทศ ทำให้กองทัพต้องมองแผนที่นี้ให้เข้าใจ และพยายามเข้าไปแก้ไขให้เกิดความจงรักภักดีอย่างที่เคยเป็นในอดีต
  • แผนที่ภายในกองทัพ จากการปกิรูปการปกครอง ๑๙ ก.ย.๔๙ ทำให้ทหารถูกมองในภาพของการกลับคืนมาของอำนาจเก่า ๆ และการสืบทอดอำนาจ จึงทำให้กองทัพจะต้องหันกับไปพิจารณาถึงการเป้นทหารอาชีพหรือไม่ บทบาทนั้นกองทัพจะต้องเดินอย่างไรนั้น จะต้องชั่งใจให้มาก

๒. อ.ปณิธาน ฯ ได้ให้ความรู้ว่าสิ่งสำคัญของบทบาทกองทัพได้แก่ การรู้สนามรบที่แท้จริง ซึ่งท่านเรียกว่า สมรภูมิ สรุปได้ว่า

  • สมรภูมิภายใน ได้แก่ กองทัพนั้นเอง จะต้องเอาชนะองค์กรของตนเองให้ได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การบริหารจัดการ การควบคุมและสั่งการ ตลอดจนการควบคุมการปฏิบัติ ให้เป็นรูปธรรม การปรับปรุงดังกล่าวภายใต้บริบทต่าง ๆ ที่ อ.ชัยวัฒน์ ได้กล่าวไป จะทำให้กองทัพรู้ว่าต้องทำอะไร ต้องเครียมอะไร ต้องเสริมอะไร จึงจะทำให้การรบสามารถชนะได้
  • สมรภูมืภายนอก ได้แก่ ภัยคกคามรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งจะเป็นหลายมิติ และสลับซับซ้อนที่เรียกว่า complex theory นั้น กองทัพจะต้องให้ความสนใจ ให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ การรบเพียงเหล่าทัพเดียวจะไม่สามารถกระทำได้ จะต้องมีการรบหลายมิติ ดังนั้น การพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับภัยคุกคามดังกล่าวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ เช่น การกลับคืนมาของ กอ.รมน. จะต้องมีการปรับองค์กร และภารกิจให้ชัดเจน ให้เกิดความ sexy มิเช่นนั้น จะไม่สามารถรองรับการปฏิบัติงานในอนาคตได้ เช่นกัน ศอ.บต. ต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานใหม่ ต้องจัดให้เป็นองค์กรใหม่ อย่านำลักษระขององค์กรในอดีตกับมาใช้ จะไม่สำเร็จ

กิจกรรมร่วมมือทางวิชาการครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันที่ ๒๔ ก.ค.๕๐

ภายใต้การเสวนาเรื่องการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ได้อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร และอาจารย์วิชัย รูปคำดี มาเป็นตัวหลักในการเสวนา ได้รับทราบจากท่านอาจารย์วิชัย ฯ ว่าในหลวงของเราท่านมองการไกลในด้านทหารมาก จากสภาพภัยคุกคามในเวลานั้นได้แก่เวียดนาม จึงมองว่าการสร้างกองทัพเพื่อต้านทานมความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น ท่านจึงนำโครงการอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เข้ามาเป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ หรอทหารบกจะเรียกว่า มาคู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เส้นทางเคลื่อนที่ของกำลังทางบกจะเป็นไปได้น้อยลง ทำให้เราสามารถลดกำลังพลที่ต้องเป็นกำลังเผชิญหน้าทางกว้างลงได้ นี้เรียกว่าเป็นอัจริยะอีกด้านของในหลวงเรา
ส่วนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกองทัพนั้น มีปัญหาหลัก ๆ อยู่ที่ทัศนะคติ อาจารย์วิวัฒน์ ฯ กล่าวว่า ในโลกนี้แนวคิดแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือ ด้านสุดโตก คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร หรือยุ่งเกี่ยวให้น้อยที่สุด เช่น ภูฐาน ที่กำหนดการเข้าประเทศของต่างชาติเพียงแค่ ประมาณ ๕ พันคนเท่านั้น ท่านบอกว่าเป็นการป้องกันการแย่งอากาสและน้ำของประชาชนเขา ที่มีอยู่จำกัดอยู่แล้ว แต่จริงแล้วผมกับมองว่าน่าจะเป็นการป้องกันมิให้ทรัพยากรอื่น ๆ ด้วย กับอีกแนวคิดหนึ่งคือพวกทุนนิยม ได้แก่ พวก trade economy พวกนี้จะมองที่ GDP เป็นหลัก พวกนี้จะทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการรักษ์ธรรมชาติ จากสองแนวคิดนี้ ปรัชญาของในหลวงท่านอยู่ที่ตรงกลางภายใต้คำว่า medium path คือเดินสายกลาง มิได้บอกว่าไม่ต้องมีการทำการค้า ทำได้ แต่ต้องมีการพึ่งพาตนเองได้ซัก ๑ ใน ๓ ส่วนก็นับว่าดีแล้ว ภายใต้แนวคิดสุดโตกนั้น มีความจำเป็นมีองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้พื้นบ้านให้สามารถสนับสนุนประเทศได้ โดยมิต้องพึ่งพาประเทศอื่น ส่วนแนวคิดทุนนิยมนั้น สิ่งสำคัญต้องมีจริยธรรม เช่นหลักของธรรมมาภิบาล เป็นต้น
อ.วิชัย ฯ ได้สรุปว่าการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกองทัพนั้น ท่านมุ่งหวังที่ระดับผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วย ที่จะต้องเป้นกำลังในการขับเคลื่อนให้กำลังพลของหน่วยเข้าใจปรัชญาดังกล่าว และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนต่อไป