JSC48

Wednesday, November 22, 2006

หลักการบริหารองค์กร (ส่วนตัว)

ในความคิดส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าการบริหารองค์กรในปัจจุบัน คงต้องใช้หลักการการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (KNOWLEDGE ORGANIZATION) ด้วยการมุ่งเน้นพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ ความสามารถที่จะปฏิบัติงานให้ได้เต็มขีดความสามารถ ด้วยการเน้นหลักการ ดังนี้
๑. ต้องเข้าใจในวิสัยทัศน์ขององค์กรร่วมกัน (CORPORATE VISION)
๒. ต้องทำงานเป็นทีม (TEAMWORK)
๓. ต้องมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน (JOB DESCRIPTION)
๔. ต้องบริหารเวลาเป็น (TIME MANGEMENT)

ลักษณะผู้นำทางทหาร

พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี ได้มาให้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะผู้นำทางทหารที่สำคัญของไทย/สากล ท่านได้บอกความมุ่งหมายของผู้นำ อยู่ ๓ ประการ ได้แก่
๑. ต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน นั้นก็น่าจะหมายถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน นั้นคือการที่ท่านอยากจะให้องค์กรเดินทางไปถึงจุดนั้น
๒. ต้องไม่เสื่อมเสียต่อองค์กร ทั้งตามรัฐธรรมนูญและทางกฏหมายต่าง ๆ
๓. ต้องทำให้ผู้ปฏิบัติกระทำด้วยความสบายใจ
และยังอ้าง พล.อ.ไอเซนฮาวด์ ที่ให้ความหมายของผู้นำไว้ว่า "
ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถโน้มน้าวนำให้ผู้อื่น เต็มอก เต็มใจ กระทำในสิ่งที่ผู้นำนั้นต้องการ โดยความเต็มอก เต็มใจนั้น มาจากการที่ผู้อื่นเหล่านั้น ก็มีความต้องการจะกระทำในสิ่งนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน "
และยังได้พูดถึงหลักความรู้ทางหลักการพุทธศาสนาด้วยพุทธโอวาท อันได้แก่ สุ จิ ปุ ลิ คือ ฟัง คิด ถาม และเขียน และสิ่งที่จะทำให้ได้ความรู้ จำเป็นต้องใช้หลักพุทธศาสนาเรื่อง อิทธิบาท 4 มาใช้ ซึ่งประกอบด้วย
๑. ฉันทะ - มีความรักในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ - มีความเพียรให้ได้สิ่งนั้น
๓. จิตตะ - มีความตั้งใจแน่วแน่ให้ได้ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา - คิดค้นหาเหตุผลที่ประเสริฐให้ได้สิ่งนั้น

Monday, November 20, 2006

มารยาทในสังคม

ดร.สันทัด ศะศิวณิช ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปรั๙ญาการแต่งกายไว้ ๔ ประการ คือ
๑. สะอาด (CLEAN)
๒. เรียบร้อย เรียบง่าย (SIMPLICITY)
๓. ประณีต (NEAT)
๔. รสนิยมดี (GOOD TASTE)
และยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแต่งกายที่เหมาะสม ได้แก่ ๕ เหมาะสม ได้แก่
๑. เหมาะสมกับวัย
๒. เหมาะสมกับการลเทศะ
๓. เหมาะสมกับพิธีการ
๔. เหมาะสมกับบรรยากาศ
๕. เหมาะสมกับสถานะ ตำแหน่งหน้าที่
สุดท้ายเกี่ยวกับการต้อนรับแขกเมื่อแขกมาเยี่ยมที่หน่วยงาน ให้ยึดหลัก SOFTEN กล่าวคือ
S - SMILE คือ การยิ้มรับแขก
O - OPEN โปร่งใส พูดอะไรที่จริงใจ
F - FORWARD LINING เอียงตัวไปข้างหน้า เข้าหาแขก
T - TOUCH ปรับให้ หรืออำนวยความสะดวก
E - EYE CATCHER สบตา
N - NOD ผงกหัวรับ

Friday, November 17, 2006

หลักนิยมปฏิบัติการทางเรือกับหลักการสงครามของซุ่นวู

ได้เรียนรู้จาก อ.สาโรจน์ ฯ ที่สอนหลักการสงครามของซุ่นวู ไว้ดังนี้
๑. เมื่อมีกำลังมากกว่าข้าศึก ๑๐ เท่า จงล้อมไว้
๒. เมื่อมีกำลังมากกว่าข้าศึก ๕ เท่า จงตีเอา
๓. หากมีกำลังมากกว่าข้าศึก ๒ เท่า จงแยกกำลังออกเป็น ๒ ด้าน
๔. หากมีกำลังเท่ากับข้าศึก จงคิดแผนการต่อตีอันแยบยล
๕. หากมีกำลังน้อยกว่าข้าศึก จงคิดถึงแผนการถอย
จากนั้น ได้มาศึกษากับหลักนิยมการยุทธทางเรือ ได้ดังนี้
๑. การปิดล้อม (BLOKADE) หมายถึง การปิดล้อมด้วยกำลังทางเรือ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการเปรียบเทียบกำลังทางเรือแล้วว่ามีขีดความสามารถหรือกำลังรบมากว่าจึงจะสามารถกระทำได้
๒. การขัดขวาง/ทำลาย (INTERDICTION) หมายถึง การจัดกำลังทางเรือเข้าไปไล่ล่า หรือทำลายกำลังทางเรือข้าศึกในทะเล ดังนั้น กำลังทางเรือฝ่ายเรา จำเป็นต้องมีขีดความสามารถหรือกำลังรบมากกว่าจึงจะประสบความสำเร็จ
๓. กองเรือยังชีพ (FLEET IN BEING) หมายถึง การพยายามดำรงความอยู่รอดของกองเรือ เพื่อทำการโจมตีแบบกองโจร ดังนั้น หลักการนี้มักจะใช้กับฝ่ายที่มีกำลังทางเรือน้อยกว่า
เมื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกัน สามารถสรุปออกมาได้ ดังนี้
๑. เมื่อมีกำลังมากกว่าข้าศึก ๑๐ เท่า จงล้อมไว้ เปรียบเทียบได้กับการปิดล้อม (BLOKADE) ในหลักนิยมปกิบัติการทางเรือ
๒. เมื่อมีกำลังมากกว่าข้าศึก ๕ เท่า จงตีเอา เปรียบเทียบได้กับการปิดล้อม (BLOKADE) หรือ การขัดขวาง/ทำลาย (INTERDICTION) ในหลักนิยมปฏิบัติการทางเรือ
๓. หากมีกำลังมากกว่าข้าศึก ๒ เท่า จงแยกกำลังออกเป็น ๒ ด้าน เปรียบเทียบได้กับการขัดขวาง/ทำลาย (INTERDICTION) ในหลักนิยมปฏิบัติการทางเรือ
๔. หากมีกำลังเท่ากับข้าศึก จงคิดแผนการต่อตีอันแยบยล เปรียบเทียบได้กับการขัดขวาง/ทำลาย (INTERDICTION) ในหลักนิยมปกิบัติการทางเรือ
๕. หากมีกำลังน้อยกว่าข้าศึก จงคิดถึงแผนการถอย เปรียบเทียบได้กับกองเรือยังชีพ (FLEET IN BEING) ในหลักนิยมปฏิบัติการทางเรือ
เอกสารอ้างอิง
๑. หลักการสงครามของซุ่นวู
๒. หลักนิยมปฏิบัติการทางเรือ

ทักษะการคิดและจริยธรรมผู้นำทหาร

ได้เรียนรู้จาก อ.สาโรจน์ฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการคิดของผู้นำ ในสมัย KNOWLEDGE MANAGEMENT ด้วยการคิดแบบเชื่อมโยง (LINK) ได้แก่ เมื่อพูดมาถึงจุดใด ที่สามารถเชื่อมโยงหรืออ้างถึงตัวอย่างได้ ก็ให้พยายามคิดและพูดถึง เพื่อให้การจำและชำนาญในการเชื่อมโยง อีกข้อที่ได้ก็คือ การสั่งการของสมอง คือ สมองซีกซ้ายจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลเข้า ส่วนสมองซีกขวาจะเป็นตัวคิดหรือประมวลผล ทำให้สามารถสั่งการตามสิ่งเร้าที่เข้ามายังร่างกายเรา ดังคำกล่าวที่โบราณพูดกันว่า เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวาครับ
ตอนที่ผมเรียนโทนั้น มีการพูดกันอย่างมากก็การบริหารจัดการเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบันไม่พอแล้วครับ เนื่องจากต้องบริหารจัดการความรู้ด้วย เราทราบหรือไม่ว่า INFORMATION กับ KNOWLEDGE ต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือ KNOWLEDGE คือ ข้อมูลที่ต้องการมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือตามที่ต้องการในเวลานั้น ดังนั้น ถ้าทางเทคโนโลยี จึงต้องมีการบริหารจัดการ แต่ในส่วนของความคิดแล้ว อ.สาโรจน์ ต้องการให้เราสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในสมองอันมากมายของเรา ดึงออกมาเป็น KNOWLEDGE ด้วยการตอบหรืออธิบายได้ทันที ท่านยกตัวอย่างว่า บิล เกตท์ เวลาสัมภาษณ์เพื่อรับพนักงาน มักจะถามคำถามยาก ๆ ที่เรียกว่าไม่สามารถตอบได้ในบัดดล แต่บิลต้องการเพียงเพื่อดูปฏิกริยาตอบสนองของความคิด ว่าจะมีปฏิกริยารวดเร็วเพียงใด นั้นคือต้องการดูปฏิณาณไหวพริบของผู้สัมภาษณ์ ก่อนรับเข้ามาทำงานด้วยก็เท่านั้นเองครับ

Wednesday, November 15, 2006

ยาหม้อใหญ่

การเข้าเรียนวิทยาลัยเสนาธิการทหาร มีวิชาหนึ่งที่ทุกคนต้องทำคืดการจักทำเอกสารวิจัย ซึ่งถือว่าเป็นวิชาหนึ่งที่ทางวิทยาลัยให้ความสำคัญมาก จึงมีการบรรยายขั้นตอนการดำเนินการโดย อ.ชุลีพร ฯ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านได้ให้คำแนะนำขั้นตอนการจัดทำเอกสารวิจัยที่ดี การดำเนินการวิจัยที่ว่านี้ทางวิทยาลัยต้องการให้เป็นระเบียบวิทยานิพนธ์ ซึ่งแนวทางการจัดทำนั้นแตกต่างจากที่เคยทำเอกสารวิจัยในโรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพมาก เนื่องจากโรงเรียนเสนาธิการนั้น มีแนวทางการจัดทำเอกสารวิจัยออกมาในแนวเชืงบรรยายโวหาร กล่าวคือ ว่าไปเขียนไป รำพึง รำพันไป แต่ต้องมีเอกสารวิจัย หรือหลักการ หรือทฤษฏี มาเป็นอ้างอิง นั้นหมายถึงการจัดทำเอกสารวิจัยเชิงคุณภาพ แต่ท่านอาจารย์นั้นต้องการให้จัดทำเป็นเอกสารวิจัยจริง ๆ ด้วยการมีการจัดรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ จึงทำให้เกิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริงขึ้น จากการที่เราได้ทำการวิจัยนี้ แต่การที่ข้อมูลนี้จะนำไปใช้อย่างไรนั้น ก็คงจะอยู่ในหัวข้อเสนอแนะในเอกสารวิจัย

คุณธรรมและจริยธรรมผู้นำทหาร

ได้เรียนรู้จากท่าน พล.อ.ต.บุญเลิศ จุลเกรียติ ได้เรียนรู้บทเรียนการดำเนินชีวิตที่ดี สำหรับผมที่มีกิเลสหนา ตัญหาเพียบ สำหรับผมที่เป็นปุถุชนธรรมดา ยังมีความชื่นชอบกับโลกียะอยู่ ว่าการรักษาจิตให้สว่างสดใสนั้น จะต้องรู้เท่าทันตัญหา และพยายามอย่าให้กิเลสกระโดดจับได้ หากเมื่อถูกกิเลสกระโดดจับแล้ว ต้องพยายามทำให้จิตสดใสเช่นเดิม ด้วยการใช้ปัญญาเข้ามาทำให้กิเลสเบาบางลง ด้วยการเรียนรู้ไตรลักษณ์ ดังนั้น วิธีการที่จะลดละลเกกิเลสนั้น ทำได้ ๒ ทางคือ การตัดสิ้นเยื่อใยกิเลส ด้วยการยึดถือปฏิบัติให้เข้าสู่ทางสู่ปรินิพานเหมือนกับพระพุทธเจ้า แต่ปุถุชนเช่นเรา ควรใช้วิที่ที่สอง คือ รู้เท่าทันกิเลส แล้วใช้ปัญญาไต่ตรองอย่างรอบครอบ
ผมพอสรุปเอาเองได้ว่าจุดเริ่มตั้งแต่คลอดออกมาเป็นทารกนั้น ตัญหาจะเกิดตามมาด้วย และการเกิดทุกข์ของมนุษย์นั้นคือการดำรงเผ่าพันธุ์ ด้วยการพยายามเอาตัวรอด และการยึดติดในตัวกู ของกู และลูกกูด้วย ทำให้ตัวกิเลสมักจะพยายามกระโดดจับ ทำให้เกิดไม่สบายใจต่างๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การพยายามทำให้ใจเป็นสุขด้วยการใช้ปัญญานั้น จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่การที่จะได้มาซึ่งปัญญานั้น จำเป็นต้องมีพื้นญานที่ดีก่อน ด้วยการปฏิบัติ ทาน และรักษาศีลก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานนำสู่การฝึกสมาธิที่ดีได้ เมื่อมีสติ ปัญยาก็เกิดครับ
สาขุ......................

Monday, November 06, 2006

ผบ.สปท.พบนักศึกษา

วันนี้ ผบ.สปท. ท่าน พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ได้เข้ามาพบปะนักศึกษา ในโอกาสแรกที่หลักสูตรต่าง ๆ เข้ามารับการศึกษาที่สถาบัน ท่านได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงานของท่าน ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำงาน และการเรียนการฝึกยุทธร่วม พอสรุปใจความได้ ดังนี้
๑. การจัดระเบียบความคิดให้ดี ให้เป็นระเบียบ
๒. ให้ทำการศึกษาแนวคิด และข้อจำกัดของแต่เหล่าทัพ เพื่อการยุทธร่วมที่มีประสิทธิภาพ
๓. ลดความเป็นอัตตาของแต่เหล่าทัพลง
๔. หน่วยที่ปฏิบัติการควรที่จะต้องสมบูรณ์ในตัวแบบนาวิกโยธินของสหรัฐฯ (COMPACT)
๕. การฝึกยุทธร่วม ควรรู้ว่าจะต้องนำไปใช้ที่ไหน การสร้างสถานการณ์ก็ควรให้สอดคล้อง
๖. การมีเอกภาพการบังคับบัญชาที่ชัดเจน (UNITY OF COMMAND)
๗. การไม่เอาใจใส่ต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
๘. การแตกแยกในสังคมไทย ที่เชื่อมโยงสู่การคอรัปชั่น และเชื่อมโยงสู่สื่อมวลชน และการจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัติรย์
๙. การทำงานควรมีการบูรณาการ
๑๐. การเรียน การสอน ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดกันให้มาก
๑๑. การทำงานให้เน้นความซื่อสัตย์ สุรจริต
๑๒. ทหารต้องมีอุดมการณ์ อันหมายถึงอุดมคติ อันสูงส่งที่ควรปฏิบัติ ซึ่งอุดมคติ หมายถึง มาตรบานแห่งความดี ซึ่งจะสามารถดูได้จากประวัติย้อนหลัง
๑๓. กาจัดทำยุทธศาสตร์ทหารที่หลักสูตรนี้จะต้องดำเนินการนั้น ท่านอยากเห็นเป็นรูปธรรมอย่างของหลักสูตรป้องกันราชณาจักร ที่จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
๑๔. การให้ข้อคิดต่าง ๆ ต้องมั่นใจในความถูกต้อง
๑๕. เน้นการมีจินตนาการ ด้วยการวาดภาพทางการรบ ซึ่งน่าจะหมายถึงภาพสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น (SCENARIO)
๑๖. ทหารอาชีพต้องมีอุดมการณ์
๑๗. ได้ยกคำพูดของไอน์สไตน์มาให้คิด ๒ เรื่อง ได้แก่ "การมีชีวิตเพื่อผู้อื่น จึงจะมีคุณค่า" และ "โรงเรียนจะต้องชี้ให้เห็นการรับใช้ชุมชน เป็นสิ่งที่ดี และต้องมีการสอนคุณธรรมและจริยธรรมด้วย"

Wednesday, November 01, 2006

ไห้วครู

ไม่น่าเชือว่าหลักสูตรเสนาธิการทหารยังมีการไหว้ครู ทั้งที่นักศึกษาทั้หลายเกือบร้อยเปอร์เซนต์มีอายุเกิน ๓๕ ปีขึ้นทั้งนั้น แต่การไห้วครูนับว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ ทำให้ได้ร้ซึ้งว่าคนตะวันออกมีจริยธรรมที่ดี ในคนตะวันตกไม่มีหรอกครับ เป็นอาจารย์ก็มีนหน้าที่สอนและรับเงินค่าสอน ส่วนนักเรียน นักศึกษา ก็เรียนเสร็จก็จบกัน ขาดความผูกพัน ไม่เหมือนคนตะวันออก ที่นับถือเป็นครู เนื่องจากมีความผูกพัน และการสอนนั้น มิได้สอนแค่ความรู้ วิชาการเท่านั้น แต่ยังสอนจริยธรรม และคุณธรรมด้วย จึงต่างกันมาก
โดยคำไห้วครู มาจากสองคำ คือ ไห้ว + ครู คำว่า ไห้ว หมายถึง การเคารพนับถือ ส่วนคำว่า ครู คือ ผู้ให้ความรู้ สอนในสิ่งที่ดี
ในพิธีเปิดการไหว้ครู ของหลักสูตรนักศึกษาเสนาธิการทหารร่น ๔๘ โดยได้ท่านรอง ผบ.วสท.สปท. พล.อ.ต.ไมตรี ฯ เป็นประธานพิธี

ข้อพิจารณาในการพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ

๑. โลกต้องมีสงครามเสมอ เนื่องจากการปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเอง
๒. ความมั่นคงเหมือน OXYGEN เนื่องจาก ทางการเมือง และพลเรือนมักจะมองข้ามความสำคัญทางด้านความมั่นคง เมื่อเกิดเหตุการณืขึ้นจึงจะนึกถึงกำลังทหาร
๓. กำลังทหารต้องมีการเตรียมการในระยะยาว ทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์ ตลอดจนการฝึก ตามคำกล่าวที่ว่า "เลี้ยงทหารไว้พันปี เพื่อใช้เพียงไม่กี่วัน"
๔. ต้องยอมรับในหลักการและทฤษฎีที่ได้รับการถ่ายทอดจากประเทสมหาอำนาจ แต่มิใช่การหลอกแล้วนำมาใช้ได้เลย ควรต้องมีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกองทัพไทย ตามคำกล่าวที่ว่า "ADAPT NOT ADOPT"
๕. พื้นฐานทางทหาร เป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องได้รับการพิจารณา
๖. วิธีการพัฒนากองทัพ ที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุด เป็นเรื่องที่ท้าท้ายต่อประเทศขนาดเล้กอย่างเช่นประเทศไทย
๗. การปฏิบัติการร่วม JOINT OPERATIONS เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นของกองทัพไทย
๘. ต้องรู้จักหน้าที่ตามภารกิจของเหล่าทัพให้ชัดเจน MISSION CREEP
๙. ต้องมีการผนึกกำลัง SYNERGY เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๑๐. การปฏิบัติการทางทหารในปัจจุบันและอนาคตจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากกำลังประชาชนพลเรือน INTERAGENCY เนื่องจากกำลังพลเรือประชาชนจะมีมากกว่ากำลังทหารเกือบร้อยเท่าโดยประมาณ
๑๑. ฝ่ายการเมือง กองทัพ และภาคเอกชนต้องเข้าใจกันและกัน
๑๒. หลักการสงคราม ๙ ข้อ
๑๓. ผู้นำต้องเข้าใจยุทธศาสตร์ โดยจะต้องเป็นทั้งนักยุทธศาสตร์ และนักยุทธวิธี
๑๔. ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดี และกว้างไกล
๑๕. การติดอาวุธทางปัญญา ด้วยการพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจได้เป็นอย่างดี

คำขวัญของวิทยาลัยเสนาธิการร่วม


จิตมั่นสามทัพพ้อง มั่นแม้นทัพเดียว

พิธีเปิดหลักสูตรวิทยาลัยเสนาธิการทหารรุ่นที่ ๔๘

เป็นที่ทราบกันดีว่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีข้อสรุปว่าสงครามในอนาคต จำเป็นต้องมีการใช้กองทัพอย่างน้อยสองเหล่าทัพร่วมกันรบ ซึ่งเป็นเหตุผลที่มาว่าการรบร่วมจึงเกิดขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศแรก ๆ ตามหลังสหรัฐอเมริกามาติด ๆ ในการตั้งวิทยาลัยเสนาธิการร่วม
ในพิธีเปิดการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารรุ่นที่ ๔๘ ได้รับเกรียติจากท่าน พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐุ์ ผบ.ทหารสูงสุด ให้เกรียติมาเป็นประธานในพิธี พร้อมกับให้คำแนะนำในการศึกษาในหลักสูตรนี้ สรุปใจความสำคัญได้ ๒ ข้อ ได้แก่
๑. การทำงานเป็นทีม TEAM WORK ซึ่งท่านได้เน้นให้รู้จักการยอมรับฟัง ไม่ทะเลาะเบาแว้งกัน
๒. ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการผนึกกำลังจากการรบร่วมให้เกิดการผนึกกำลัง SYNERGY สูงสุด